สภาพและความคาดหวังเกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากแข้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1

ผู้แต่ง

  • เกษมสันต์ ขันตี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วินัย ผลเจริญ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สภาพและความคาดหวัง, การส่งเสริมประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียน 2) ศึกษาสภาพและความคาดหวังการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงพรรณนา และเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) หลักภราดรภาพ 2) หลักการมีส่วนร่วม 3) หลักเสียงข้างมาก 4) หลักความเสมอภาค และ 5) หลักเสรีภาพ ตามลำดับ 2. สภาพและความคาดหวังเกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากแข้ง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีสภาพจริงโดยค่าเฉลี่ยมาก เป็นอันดับแรก ได้แก่ หลักเสียงข้างมาก รองลงมาคือ หลักความเสมอภาค หลักภราดรภาพ หลักการมีส่วนร่วม และหลักเสรีภาพ  3. แนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากแข้ง พบว่า ด้านหลักเสรีภาพ นักเรียนควรมีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็นไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ด้านความเสมอภาค นักเรียนควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านหลักภราดรภาพ นักเรียนควรมีความเป็นกัลยาณมิตร ด้านหลักการยึดเสียงข้างมาก ควรให้ความสำคัญของประชาธิปไตยในการเลือกตั้งเป็นหลัก หลักการมีส่วนร่วม นักเรียนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนเคารพกฎระเบียบข้อตกลงที่โรงเรียนได้กำหนดขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและมูลนิธิคอนราดอาเดนาวร์. (2548). คู่มือประกอบการเรียนการสอนประชาธิปไตยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว

ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์. (2561). แนวทางการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย โรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิพย์สุคนธ์ ศรีธานนท์. (2560). แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ธวัชชัย ชนามวงศ์. (2563). แนวทางการส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

ประเทิน มหาขันธ์. (2554). การสอนอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พชร สมคํา. (2560). แนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะประชาธิปไตยของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมพงษ์ นามบุดดี. (2550). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผ้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดโรงเรียนในเทศบาลในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สมพิศ จ่ายนอก. (2555). การพัฒนาการดำเนินงานสร้างเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยในโรงเรียนประถมศึกษาเล่ม 2. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แนวการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพัตรา หอมทอง. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนักเรียนมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)