การจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิธิมา ยืนยง มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดการสมัยใหม่, มหาวิทยาลัยเอกชน, การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชน 2) ศึกษาการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา และ 3) ศึกษาการจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า  1. สภาพการจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.21, S.D. = 0.54) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ (x̅ = 4.42, S.D. = 0.63) ด้านสวัสดิการและการบริการ (x̅ = 4.39, S.D. = 0.79) และด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน (x̅ = 4.28, S.D. = 0.75) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน (x̅ = 3.69, S.D. = 0.62) 2. การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.37, S.D. = 0.65) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ มีหลักสูตรและสาขาวิชาตรงตามความต้องการ (x̅ = 4.50, S.D. = 0.75) เพื่อนส่วนใหญ่นิยมเรียนสถาบันแห่งนี้ (x̅ = 4.47, S.D. = 0.75) และเป็นสถาบันที่สร้างโอกาสและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษา (x̅ = 4.46, S.D. = 0.76) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เชื่อว่าบัณฑิตมหาวิทยาลัยเอกชนสามารถประสบความสำเร็จในอาชีพการงานได้ไม่แตกต่างกับบัณฑิตมหาวิทยาลัยของรัฐบาล (x̅ = 4.25, S.D. = 0.94) 3. การจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา พบว่า การจัดการสมัยใหม่ในมหาวิทยาลัยเอกชนด้านบุคลากร (X4) ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน (X5) ด้านสวัสดิการและการบริการ (X7) และด้านสถานที่ตั้ง (X2) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถทำนายการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา ร้อยละ 40.3 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y' = 1.651 + .214(X4) + .228(X5) + .096(X7) + .098(X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .261(X4) + .275(X5) + .121(X7) + .112(X2)

References

จำลอง นามูลตรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: มิติด้านการศึกษา. วารสารวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 389-403.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด.

รังสิยา บุญยัง. (2560). การศึกษาการตัดสินใจของนิสิตในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันวิสา ชมภูวิเศษ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. ขอนแก่น: สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พุทธศักราช 2566 ปรับปรุงตามมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุไบซะ จำนงลักษณ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อิศราภรณ์ ขวัญใจ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและแนวโน้มการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของนักศึกษาปริญญาตรี. (สารนิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)