การพัฒนาศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชนสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • รวิธร ฐานัสสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

นวัตกรชุมชน, เศรษฐกิจฐานราก, การถ่ายทอด, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชนสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มตัวแทนภาครัฐ และกลุ่มตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 25 คน ผ่านการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในการดำเนินกิจกรรมการวิจัยและสร้างความร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยการจัดการความรู้ด้วย SECI Model สร้างต้นแบบการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นในการดำเนินกิจกรรม คือ 1) การแลกเปลี่ยนความรู้ (Socialization) ได้หัวข้อความรู้แนวทางการสร้างต้นแบบ การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน สร้างนวัตกรชุมชนหาแนวทางกาพัฒนาร่วมกัน เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอกและเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของคนในพื้นที่ 2) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) โดยพัฒนากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ ผ่านฐานการเรียนรู้ 3) การรวบรวมความรู้ (Combination) รวบรวมองค์ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ อาทิเช่น ความรู้บริหารจัดการขยะ กระบวนการผลิตพลังงานชุมชน ความรู้การผลิตดินพร้อมปลูก การขายอออนไลน์ และ 4) การผนึกความรู้ (Internalization)  เกิดนวัตกรชุมชนที่เป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อารีย์ เชื้อเมืองพาน. (2551). วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง: ทางรอดพ้นกับดักทาง เศรษฐกิจและสังคม. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์, 9(6), 9-11.

Andersen, A. (2005). Knowledge management news. Retrieved from http://www.kmnews.com/index.php?page=themopportunity

Mangkhang, C., et al. (2016). A study project of the royal project’s knowledge transfer and capacity building for highland communities. Chiang Mai: Highland Research and Development Institute (Public Organization).

Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). โมเดลเซกิ (SECI Model). เข้าถึงได้จาก http://aminaghazadeh.edublogs.org/2010/08/30/nonakas-seci-model/

Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The knowledge creating company: How Japanese companies create the dynamics of innovation. New York: Oxford University.

Sornphaisan. (2017). Pracharat for the people and for the state. Retrieved form https://mgronline.com/mualfund/detail/9580000106890

United Nations Office for South-South Cooperation. (2018). Good Practices in South-South and Triangular Cooperation for Sustainable Development-Volume 2. New York: UNOSSC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ฐานัสสกุล ร. (2024). การพัฒนาศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชนสู่ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี . วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 35–48. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/276456

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)