สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา อุบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • สถาพร วิชัยรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

สภาพจริง, สภาพที่คาดหวัง, การให้บริการประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน 2) เปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรผู้มีชื่อในทะเบียนราษฎร อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 380 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(equation = 4.17, S.D. = 0.30) ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (equation = 4.31, S.D. = 0.42) รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (equation = 4.25, S.D. = 0.45) และด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (equation = 4.11, S.D. = 0.37) สภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.48, S.D. = 0.26) ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  (equation = 4.58, S.D. = 0.37) รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (equation = 4.53, S.D. = 0.30) และด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ (equation = 4.29, S.D. = 0.30)
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชน โดยภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. แนวทางการพัฒนาการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน ได้แก่ ควรมีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอต่อจำนวนประชาชนที่มาใช้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บริการของประชาชน และยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการให้บริการประชาชนมากยิ่งขึ้น

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2557). การบริการลูกค้า. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดียแอนด์พับลิชชิ่ง.

ธีระพันธ์ สมบูรณ์ และพิรัชรัฐ หมื่นด้วง. (2566). คุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารปารมิตา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตารม, 5(1), 69-81.

นุชิดา ทับศรี. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอกันทรวิเชียร จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปัณณทัต สามิบัติ และชาญยุทธ หาญชนะ. (2565). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธมัคค์, 7(1), 120-132.

พัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จของเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 เรื่องสังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา, 30 มีนาคม 2562 (หน้า 370-382). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต. (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งทิพย์ ศรีทอง. (2561). ศึกษาคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานฝ่ายทะเบียนและบัตรที่ว่าการอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สงกรานต์ กาญจนดิษฐ์, โสภา มุขมณเฑียร และวันเพ็ญ จันทร์คง. (2565). สภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลรับร่อ จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 9(1), 102-111.

สมคิด ดวงจักร์ และชัชวาล แอร่มหล้า. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 11(2), 1-11.

สิทธิกร สมบูรณ์พร้อม. (2563). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Krejcie, R. & Morgen, D. (1970). Determining sample sizes for research activities. Education and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

อุบัติ ส., วิชัยรัมย์ . ส., & พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ ธ. . (2024). สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังต่อการให้บริการประชาชนของสำนักทะเบียน อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 161–174. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/276991

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)