การศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดำเนินชีวิต, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อปี 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 381 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กำนัน ผู้นำตำบลทุ่งวัง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.64, S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการประหยัด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการลดรายจ่าย ด้านการดำรงชีวิต ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านความเอื้ออาทร และด้านการเพิ่มรายได้
2. ผลเปรียบเทียบการศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนรายได้ต่อปี มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรลดรายจ่ายด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว การใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรเต็มที่ การส่งเสริมการออมและเข้าร่วมสหกรณ์ การอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น การรักษาสิ่งแวดล้อม และการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ เพื่อคอยช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
References
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2550ค). ไขพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันประเทศ. เข้าถึงได้จาก http://www.thairath.co.th/news.php
ปราณี บัววังโป่ง. (2556). พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "อยู่เย็น เป็นสุข" จังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ภูษิตา วงศ์ธรรมวัฒน์. (2552). ประสิทธิผลของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุขต้นแบบของจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
วีธรา เตียวศิริทรัพย์. (2557). การศึกษาผลการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนหนองตาเข้ม อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครองอำเภอสตึก. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
สุภาวดี หันสันเทียะ. (2559). การศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนบ้านม่วงเจริญ ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
หัสดี ขวัญไตรรงค์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับความสำเร็จในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของหมู่บ้านคลองเจ็ดริ้วเก่าตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อำพล เสนาณรงค์. (2550). องคมนตรีของคนไทยช่วยกันเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง. เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th/QOL/View News.aspx
อิทธิพล บุบผะศิริ. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณโลก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
