การปรับพฤติกรรมของมนุษย์แนวทางจิตวิทยาตะวันตกกับตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาวราทิต อาทิตวโร (วราทิต คำกมล) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหามีชัย กิจฺจสาโร (มีชัย แสงคำภา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระครูปริยัติพุทธิคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาเศรษฐา เสฏฺฐมโน (เศรษฐา หินศิลา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาบัวพันธ์ ฉนฺทโสภโณ (บัวพันธ์ ประสังคะโท) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปรับพฤติกรรม, พฤติกรรมภายนอก, พฤติกรรมภายใน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ตามแนวทางของจิตวิทยาตะวันตกและตามแนวทางพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมหมายถึงการกระทำหรือปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกหรือภายใน นักจิตวิทยาตะวันตกแบ่งพฤติกรรมออกเป็นสองประเภทหลักคือ พฤติกรรมภายนอก ซึ่งเป็นการกระทำที่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น การร้องไห้ หรือการพูด และพฤติกรรมภายใน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น ความรู้สึกหิวหรือเสียใจ การปรับพฤติกรรมตามแนวทางตะวันตกเน้นการสังเกตและวัดผลที่เห็นได้ชัด รูปแบบการปรับพฤติกรรมในบทความนี้ศึกษาในกรอบของจอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) และ บีเอฟ สกินเนอร์ (B. F. Skinner) โดยวัตสันเน้นการเรียนรู้แบบคลาสสิกที่มุ่งเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองอัตโนมัติ ขณะที่สกินเนอร์เน้นการเรียนรู้แบบปฏิบัติที่ใช้การเสริมแรงและการลงโทษในการปรับพฤติกรรม
ในทางพระพุทธศาสนา “พฤติกรรม” หมายถึงการกระทำที่เกิดจากเจตนาและมีความจงใจ โดยแบ่งเป็นพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ พฤติกรรมตามหลักพระพุทธศาสนาแบ่งเป็นสองประเภทหลักคือ พฤติกรรมตามแนวสังขารและพฤติกรรมตามแนวจริต ซึ่งมีระดับต่างๆ ของพฤติกรรมที่เกิดจากกิเลส ได้แก่ พฤติกรรมละเอียด พฤติกรรมอย่างกลาง และพฤติกรรมอย่างหยาบ รูปแบบการปรับพฤติกรรมมี 3 ระดับคือ ระดับศีล (พื้นฐาน) ใช้ปรับพฤติกรรมอย่างหยาบ คือ พฤติกรรมทางกาย ทางวาจา ให้มีพฤติกรรมแสดงออกทางกาย ทางวาจาที่พึงประสงค์ โดยการสมาทานรักษาศีลประพฤติตามแนวทางที่อนุญาต งดเว้นข้อที่ห้าม ระดับสมาธิ (กลาง) ใช้ปรับพฤติกรรมทางจิตใจให้มีความมั่นคงไม่หวั่นไหว โดยการฝึกสมาธิตามแนวทางของสมถกรรมฐาน และระดับปัญญา (สูง) ใช้ปรับพฤติกรรมอย่างละเอียด ทำให้จิตใจเกิดปัญญาพิจารณาเหตุผลความถูกต้อง โดยการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน การปรับพฤติกรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ 2 ประการคือ 1) ประโยชน์ตนเอง (อัตตัตถะประโยชน์) และ 2) ประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะประโยชน์)

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2567). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม. เข้าถึงได้จาก http://pws.npru.ac.th/wiratn/system/20151230163521_2528d5f5f549e33fa4551c1141e90d7e.pdf

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (2546). วิสุทธิมรรค ฉบับ แปลและเรียบเรียง คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2529). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุคโต). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Corsini, R. J. (2002). The Dictionary of Psychology. New York: Brunner-Routledge.

John B. Watson. (2024). ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของวัตสัน. เข้าถึงได้จาก https://eclassnet kku.ac.th.

Warren, H. C. (1934). Dictionary of Psychology. Cambridge: The Riberide Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

(วราทิต คำกมล) พ. อ., (มีชัย แสงคำภา) พ. ก., พระครูปริยัติพุทธิคุณ, (เศรษฐา หินศิลา) พ. เ., & (บัวพันธ์ ประสังคะโท) พ. ฉ. (2024). การปรับพฤติกรรมของมนุษย์แนวทางจิตวิทยาตะวันตกกับตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 299–310. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277097

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)