การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่ตะเข็บชายแดน ลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การสร้างภูมิคุ้มกัน, โรคโควิด-19, เชิงพุทธบูรณาการ, พื้นที่ตะเข็บชายแดนลุ่มแม่น้ำโขงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการฟื้นฟูและการขับเคลื่อนนโยบายการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ และ 2) เสนอแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 60 คน โดยวิธีแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาตามหลักอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการขับเคลื่อนนโยบายการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ตามแนวตะเข็บชายแดนในจังหวัดเลย ประชาชนในจังหวัดเลยมีการตื่นตัวในทางด้านการป้องกันตัวในโควิด 19 แต่ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตัวจึงทำให้ไม่มีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง
2. แนวทางสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากโรคโควิด-19 เชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้ฐานความคิดทางพระพุทธศาสนาให้เกิดสุขภาวะองค์รวม 4 มิติ คือ ทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ ทางด้านสังคม และทางด้านปัญญา การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีต้องดูแลแบบบูรณาการทั้งทางด้านกาย จิต สังคม เพราะหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะทำให้ขาดความสมดุล สิ่งสำคัญที่เป็นสารตั้งต้น คือ สุขภาพจิตที่แข็งแกร่ง จะเป็นฐานรากให้คนเราสามารถยืนยัดต่อสู้และเผชิญปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้ การมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เข็มแข็งทำให้กายเป็นสุข สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบที่ต้องอยู่ร่วมกันหากขาดส่วนใดชีวิตก็จะสูญเสียการทำงานไป ส่งผลต่อองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหลือมีผลให้ร่างกายโดยรวมเจ็บป่วย จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ครอบคลุมร่างกายทุกระบบทั้งทางด้านร่างกาย ซึ่งสอดคล้องกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา คือหลักภาวนา 4 หมายถึง หลักการเจริญ การทำให้เป็นให้มีขึ้น การฝึกอบรมและการพัฒนาด้านกาย ด้านศีล ด้านจิต และด้านปัญญา ที่เกี่ยวกับสุขภาวะ
References
ธนัชชา รอดกันภัย. (2560). การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง: กรณีศึกษา นักศึกษา กศน. ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บุญวรา สุมะโน และณัฏฐณิชา อเนกสมบูรณ์ผล. (2564). ความสำคัญของข้อมูลในช่วงโรคระบาด. เข้าถึงได้จาก https://tdri.or.th/2021/08/the-importance-of-data-in-the-fight-against-covid/
ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี และภาสินี โทอินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี (Udon Model COVID-19). วารสารสารธารณสุข, 30(1), 53-61.
วสิษฐ์พล กูลพรม. (2560). การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานจังหวัดเลย. (2560). รายงานประจำปี 2560. เลย: สำนักงานจังหวัดเลย.
