ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตจำแนกตามแต่ละหมู่บ้าน 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 6 หมู่บ้าน จำนวน 237 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ประธานและเลขานุการกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลบ้านตะโก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.81, S.D. = 0.26) โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดองค์กร (
= 3.90, S.D. = 0.41) ด้านการอำนวยการ (
= 3.85, S.D. = 0.40) ด้านการบริหารบุคลากร (
= 3.84, S.D. = 0.46) ด้านการควบคุม (
= 3.82, S.D. = 0.33) และด้านการวางแผน (
= 3.64, S.D. = 0.40)
2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลบ้านตะโก จำแนกตามแต่ละหมู่บ้าน พบว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลบ้านตะโกแต่ละหมู่บ้าน มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ที่ตั้งไว้
3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต พบว่า ด้านการวางแผน ควรวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก ด้านการจัดการองค์กร ควรระบุหน้าที่และอำนาจในการตัดสินใจของแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน ด้านการบริหารบุคลากร ควรกระตุ้นให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการอำนวยการ ควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมความร่วมมือ การสื่อสารที่ดี และความรับผิดชอบร่วมกัน ด้านการควบคุม ควรระบุและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงาน
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2564). ยุทธศาสตร์การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ปี พ.ศ. 2565-2568. กรุงเทพฯ: บริษัท บีทีเอส เพลส จำกัด.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2566). มหกรรมการออม 50 ปี ทุนชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาอาชีพ สร้างภูมิคุมกัน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก https://www.cdd.go.th/content/670307-1
บุญยพร อิงชาติเจริญ. (2565). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสระยายชี ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
บุษรินทร์ จิรัฐธนากุล. (2562). ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมทหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม (มั่งคั่ง). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเหมวรารักษ์ ญาณสีโล (แก้ว กำพล). (2562). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ตามหลักฆราวาสธรรมในเขตตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพรรณ แก้วอ่อน. (2561). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในเขต ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
ภูษณิศา สุวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
วีระชัย โชคลาภานันต์. (2559). ตัวแบบการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิผล: กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจังหวัดอุตรดิตถ์. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2566). คู่มือแนวทางการดำเนินงานศูนย์จัดการกองทุนชุมชน ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท ดิเอส์ท จำกัด.
สุรัตดา ตาเสือ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต ตำบลหัวปลวก อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อรุณศรี ติมอนรัมย์. (2566). รายงานการประชุมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลบ้านตะโก. บุรีรัมย์: กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์.
