ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ภานุมาศ บัวจีน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • โสภนา สุดสมบุรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อรรณพ จีนะวัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร, มัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร 2) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร และ 4) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารเป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 339 คน ตามสูตรของยามาเน่ จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านสมรรถนะครู ด้านการบริหารจัดการทางเทคโนโลยี ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านนโยบายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการสร้างเครือข่าย และด้านวัฒนธรรมองค์กร
2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานทั่วไป การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณ
3. ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = .670) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร ได้แก่ การบริหารจัดการทางเทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร สมรรถนะของครู นโยบายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน เท่ากับร้อยละ 47.40 โดยมีข้อเสนอแนะในนำผลการวิจัยไปใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรนำผลการวิจัยไปใช้กำหนดนโยบาย วางแผนบริหาร พัฒนาครูและบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และประยุกต์ใช้ในการวิจัยอื่น ๆ ต่อไป

References

กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กุลชลี จงเจริญ และนิตยา ภัสสรศิริ. (2561). การออกแบบและการวางแผนการวิจัย: หน่วยที่ 9 ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุขโขทัยธรรมธิราช.

ณัฐวิทย์ เจริญพงษ์, ชัยฤทธิ์ แสงสว่าง และธนเสฏฐ์ อัคคัญญ์ภูดิส. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาด้วยอิทธิพลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 669-682.

ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์, ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, วัลนิกา ฉลากบาง และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 1-8.

บุญรือ สังข์สม และพัชรา เดชโฮม. (2566). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในสถานศึกษาของโรงเรียนนนทรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 17(1), 139-150.

วรวรรณ อินทร์ชู และจิติมา วรรณศรี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 300-311.

วานิช อินคงงาม. (2561). ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิสุนีย์ ปัญญาดง และธีระภัทร ประสมสุข. (2566). การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(4), 909-920.

สมชาย ศรีสุข, สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส และอดิเรก ฟั่นเขียว. (2565). กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(49), 356-370.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2567. ปทุมธานี: สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). โครงสร้างองค์กร. เข้าถึงได้จาก https://www.obec.go.th

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2566). ยุทธศาสตร์การวิจัยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF

สุรัตน์วดี ปานโพธิ์ทอง, สุวิทย์ ภาณุจารี และวีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย. (2565). เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาที่มีความสําคัญต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 596-607.

อโนทัย ประสาน และปรีชา สามัคคี. (2561). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(77), 100-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

บัวจีน ภ. ., สุดสมบุรณ์ โ., & จีนะวัฒน์ อ. (2024). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 1–18. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277429

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)