การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ปัญญา กันภัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์
  • พระมหามนกมล กิตฺติญาโณ (มนกมล มีดีหาญ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, พระสอนศีลธรรม, เทคนิคการสอน, สื่อสร้างสรรค์, เครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอน 2) ศึกษาเทคนิคการสอนโดยใช้สื่อสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาสร้างเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสอนศีลธรรม จำนวน 171 รูป ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอน พบว่า พระสอนศีลธรรมมีทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะในฐานะผู้สอนรายวิชาพระพุทธศาสนา เน้นการสอนตรงตามเนื้อหารายวิชา 2) ทักษะในฐานะผู้สอนวิชาธรรมศึกษา เน้นการสอนอธิบายความ 3) ทักษะในฐานะผู้สอนสมาธิ บริหารจิต เจริญปัญญา เน้นการสอนแบบวิเคราะห์แยกแยะ และ 4) ทักษะในการสอนเชิงบูรณาการ เน้นการสอนครบวงจร ทั้งการจดจำ อธิบายขยายความ พระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็นในด้านนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.51)
2. เทคนิคการสอนโดยใช้สื่อสร้างสรรค์ พบว่า มีการพัฒนาด้วยการอบรมวิธีการนำโปรแกรมประยุกต์หลากหลายรูปแบบมาใช้ ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft PowerPoint, Microsoft Excel นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มทักษะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย พระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็นในด้านนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.63)
3. การสร้างเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรมของพระสอนศีลธรรม พบว่า ได้ดำเนินการเริ่มจากการสร้างเครือข่ายภายในโรงเรียน แล้วขยายเครือข่ายออกไปภายนอกโรงเรียน ได้แก่ 1) การสร้างเครือข่ายภายในโรงเรียน พระสอนศีลธรรมเป็นผู้ขับเคลื่อนเครือข่าย 2) การสร้างเครือข่ายนอกโรงเรียน เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน และ 3) การสร้างเครือข่ายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างกัน พระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.80)

References

จิรทัศน์ เนธิบุตร. (2564). บทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(2), 1-17.

ชาญชัย ฮวดศรี. (2549). บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชน เขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 9. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทักษญา สง่าโยธิน. (2563). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน. (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

วาสนา สุขธน. (2561). การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมของ โรงเรียนวัดป่าไผ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (รายงานการวิจัย). สระบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2558). แผนยุทธศาสตร์พระสอนศีลธรรมในช่วงแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ฉบับที่ 11 (2555-2559). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: หจก.เชนปริ้น ติ้ง.

สุเทพ เชื้อสมุทร. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุนทรี สุริยะรังษี. (2564). การพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภัทรชัย สีสะใบ และคณะ. (2566). การพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลในสังคมวิถีใหม่. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แสวง ทวีคูณ. (2559). การติดตามประเมินผลนโยบายการสอนศีลธรรมจริยธรรมโดยพระภิกษุสามเณรในสถานศึกษา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

กันภัย ป., & (มนกมล มีดีหาญ) พ. ก. (2024). การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 199–212. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/277641

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)