เครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษา บริษัท เอส คิว ไอ กรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือ
คำสำคัญ:
การกำหนดเป้าหมาย, การวัดผลการดำเนินงาน, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, บริษัท เอส คิว ไอ กรุ๊ป และบริษัทในเครือบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานในภาคเอกชนที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) 2) ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานที่เกิดจากการใช้เครื่องมือเหล่านี้ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครื่องมือในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานในด้าน HRM โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน แบ่งออกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน HRM 5 คน และนักวิชาการด้าน HRM 5 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มประชากร จำนวน 895 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 273 คน คำนวณตามสูตรทาโร ยามาเน่ ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามปลายปิดและมาตราส่วนการประเมินค่า วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ รวมถึงสถิติเชิงอนุมาน เช่น t-test และ ANOVA เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ การศึกษา และประสบการณ์ มีอิทธิพลต่อการใช้เครื่องมือ HRM โดยพนักงานเพศหญิงอายุ 31-40 ปี มีการใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ
2. เครื่องมือกำหนดเป้าหมายและวัดผล เช่น KPIs, SMART Goals, OKRs, 360-Degree Feedback, BSC และ Performance Appraisal System ส่งเสริมการบริหารและพัฒนาพนักงาน โดยเฉพาะ BSC ช่วยสร้างสมดุลระหว่างการบรรลุเป้าหมายธุรกิจและพัฒนาศักยภาพพนักงาน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ HRM ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการองค์กร ส่งผลต่อความสำเร็จและพัฒนาทักษะพนักงานอย่างต่อเนื่อง
References
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2564). การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้ OKRs. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 8(2), 153-166.
ดาวิษา ศรีธัญรัตน์. (2562). ระบบงานทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). การบริหารองค์การด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิด Objective and Key Results. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(2), 367-382.
ปาณิสรา สืบไชยวัง, ระพีพรรณ พิริยะกุล, และนภาพร ขันธนภา. (2565). ความสำเร็จของบุคคลจากการบริหารวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สำคัญ (OKRs) ในมิติของการจัดการเป้าหมายและการสื่อสาร: หลักฐานเชิงประจักษ์บริษัท THAI ALPHA วิศวกรรมจำกัด. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(1), 46-61.
พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี. (2563). สถิติขั้นสูงเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มณีรัตน์ ชัยยะ และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล (Digital HR). วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 11(1), 104-115.
บริษัท เอส คิว ไอ กรุ๊ป จำกัด. (2566). รายงานประวัติพนักงานเดือนมีนาคม 2566. นนทบุรี: ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท เอส คิว ไอ กรุ๊ป จำกัด.
Creswell, J. W. (2013). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Doerr, J. (2018). Measure What Matters takes you behind the scenes for the creation of Intel’s powerful OKRs. In Portfolio Penguin.
Fernandes, F., Belfort, R., & Campos, F. (2021). Agile CMII: A methodology for assessing social project impacts within agile contexts. In AHFE Conferences on Human Factors, Business Management and Society, and Human Factors in Management and Leadership. Anais Universidade Europeia, Faculdade de Design, Tecnologia e Comunicação, Unidade de Investigação em Design e Comunicação, Portugal: Springer Science and Business Media Deutschland GmbH.
Hao, Z., & Yu-Ling, H. E. (2018). Comparative study of OKR and KPI. DEStech Transactions on Economics, Business and Management.
Igwe, A., Onwumere, J. U. J., & Egbo, O. P. (2014). Effective human resource management as tool for organizational success. European Journal of Business and Management, 6(39), 210-219.
Merriam, S. B. (2009). Qualitative research: A guide to design and implementation. Retrieved from https://www.sqigroup.com/about-us/
Schuler, R., & Jackson, S. E. (2014). Human resource management and organizational
effectiveness: Yesterday and today. Journal of Organizational Effectiveness, People and Performance, 1(1), 35-55.
Sparrow, P. R. (2013). Strategic HRM and employee engagement. In K. Truss, K. Alfes, R. Delbridge, A. Shantz, & E. Soane (Eds.), Employee engagement in theory and practice, 107-134.
