จริยศาสตร์อาหารในวิถีอาหารแห่งอนาคต
คำสำคัญ:
จริยศาสตร์, จริยศาสตร์อาหาร, อาหารแห่งอนาคตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย พัฒนาการ และคุณค่าของวิถีอาหารแห่งอนาคต และ 2) วิเคราะห์จริยศาสตร์อาหารในวิถีอาหารแห่งอนาคต เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการรวบรวมหนังสือ เอกสาร บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์อาหารและวิถีอาหารแห่งอนาคต จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ศึกษาวิเคราะห์มาสังเคราะห์ในรูปแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความหมายและพัฒนาการของวิถีอาหารแห่งอนาคต เกิดจากการที่ระบบอาหารถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรมต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นคุณค่าผ่านกระบวนการผลิต การประกอบการ และการบริโภคอาหาร
2. จริยศาสตร์อาหารในวิถีอาหารแห่งอนาคต คือวิถีแห่งการสร้างความมั่นคง ความยุติธรรม และอธิปไตยให้กับอาหาร โดยความมั่นคงสามารถสร้างได้ใน 4 มิติ ได้แก่ ความเพียงพอ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และเสถียรภาพทางอาหาร ความยุติธรรมสร้างได้ด้วยการคืนสิทธิการเข้าถึงอาหาร ด้วยการคืนที่ดินและแรงงานให้กลับคืนถิ่น และอธิปไตยสามารถสร้างได้โดยการยกเลิกเสรีนิยมทางการค้า และหันมาตระหนักถึงสิทธิแรงงานและสิทธิสัตว์ รวมไปถึงการกระจายการใช้เทคโนโลยีการเกษตรอย่างทั่วถึง
References
โทมัส โรเบิร์ต มัลธัส. (2567). บทความเกี่ยวกับหลักการของประชากร. เข้าถึงได้จาก https://www.econlib.org/library/Malthus/malPop.html?chapter_num=20#book-reader
ธนิดา หรินทรานนท์. (2563). ความมั่นคงทางอาหาร. เข้าถึงได้จาก http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/2016-05-01-14-51-22/2016-05-03-03-23-38/1276-2020-09-23-02-20-23
ปิยะมาศ ใจไฝ่. (2562). ปรัชญาอาหาร. กรุงเทพฯ: The Print Idea.
เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์. (2528). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประโยชน์สุขของสังคมในทฤษฎีความยุติธรรมของจอห์น สจ๊วต มิลล์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cutler, A. C. (2001). Critical reflections on the Westphalian assumption of international law and organization: A crisis of legitimacy. Review of International Studies, 27(2), 133-50.
Gruen, L. (2011). Ethics and animals: An introduction. Cambridge: Cambridge University Press.
Hoy, A. Q. (2018). Agricultural Advances Draw Opposition that Blunts Innovation. Science 360, 6396, 1413-1414.
Maxwell, S. & Smith, M. (1992). Household food security; a conceptual review. In S. Maxwell & T. R. Frankenberger, eds. Household Food Security: Concepts, Indicators, Measurements: A Technical Review. New York and Rome: UNICEF and IFAD.
Maxwell, S. (1996). Food security: a post-modern perspective. Food Policy, 21 (2), 155-170.
Nature's Fynd. (2021). Alternative Proteins: The Ultimate Guide. Retrieved from https://www.naturesfynd.com/alternative-proteins
Nicholson, P., & Delforge, I. (2008). Via Campesina: Responding to global systemic crisis. Development, 51(4), 456-459.
Peter Singer. (2011). Practical Ethics. New York: Cambridge University Press.
Raynolds, L. T., D. Myhre, V Carro-Figueroa, F. H. Buttel, and P. McMichael. (1993). The new internationalization of agriculture: A reformulation. World Development, 21(7), 1101-1121.
Revel, A., and Riboud, C. (1986). American Green Power. Baltimore: Johns Hopkins University Press.
Singer, P. (1974). All Animals Are Equal. Philosophic Exchange, 5(1), 103-116.
The United States department of Agriculture’s Economic Research Service. (2018). Definition of Food Security. Retrieved from https://www.ers.usda.gov/topics/food-nutrition-assistance/food-security-in-the-u-s/definitions-of-food-security/
