การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ผู้แต่ง

  • นิตยา ศรีมกุฎพันธุ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุดารัตน์ เปรมชื่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุดาพร วิชิตชัยชาคร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, พฤติกรรมทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ 4) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 21 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 24.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.74 คิดเป็นร้อยละ 96.88 ก่อนการจัดประสบการณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 18.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.73 คิดเป็นร้อยละ 74.28 และความก้าวหน้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 5.65 คิดเป็นร้อยละ 22.6
2. เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 22.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.03 คิดเป็นร้อยละ 94.52 ก่อนการจัดประสบการณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 17.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.98 คิดเป็นร้อยละ 71.09 และความก้าวหน้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 5.62 คิดเป็นร้อยละ 23.43
3. เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: พีบาลานซ์ดีไซด์ แอนปริ้นติ้ง.

เยาวนุช ทานาม. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัศมี อ่วมน้อย. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5, 37-52.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2540). ทักษะและกระบวนการในวิทยาศาสตร์ศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาวิชาการ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2550). การประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สิริมา ภิญโญอนันต์พงษ์. (2545). การวัดและประเมินผลแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชา หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Lawson, H. (2001). Active Citizenship in Schools and the Community. Curriculum Journal, 12, 163-178.

Piaget, J. (1970). The origins of intelligence in children. New York: Norton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

ศรีมกุฎพันธุ์ น., เปรมชื่น ส., & วิชิตชัยชาคร ส. (2024). การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(3), 187–198. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/278810

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)