รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, พระปริยัติธรรม, รูปแบบการจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาในสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และแผนกบาลี และ 3) ศึกษารูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 24 รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกจากสนทนากลุ่ม จำนวน 18 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี แบ่งการบริหารจัดการเรียนการสอนออก เป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และ 5) ด้านการวัดและประเมินผล
2. แนวทางการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และแผนกบาลี 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสม สร้างบรรยากาศที่กระตุ้นความสนใจ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการศึกษา 2) ด้านหลักสูตร ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐาน พัฒนาคู่มือประกอบการสอนให้มีความเป็นระบบ 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน ประยุกต์ใช้ระบบ E-Learning พัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับหลักธรรม 5) ด้านการวัดและประเมินผล ปรับปรุงระบบใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลให้มีความแม่นยำและทันสมัย
3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี 1) การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) การพัฒนาการส่งเสริมสนับสนุนจากภายนอก 3) การพัฒนาการบริหารจัดการภายใน 4) การพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอน และ5) การพัฒนาแรงขับภายในและแรงจูงใจของผู้เรียน
References
กรมการศาสนา. (2565). รายงานสถานภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
ปัญญา คล้ายเดช. (2564). การพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ เพื่อรองรับการพัฒนาสังคมไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 8(2), 141-153.
พระครูปลัดสวย ฐิตธมฺโม (บัวแก้ว). (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2556). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพิจิตรธรรมพาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน). (2544). นักเทศนายุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
พระมหาศรวุฒิ สิริวณฺโณ (จิตร์จำนงค์). (2557). การบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมพงษ์ เกศานุช และคณะ. (2561). รูปแบบพัฒนาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีของสำนักศาสนศึกษาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 8. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 8(1), 1-12.
พระมหาสุธรรม สุรตโน (แก้วเคน). (2564). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 7(1), 35-46.
มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. (2554). บทบาทคณะสงฆ์ในยุคโลกาภิวัฒน์: กรณีศึกษาในภาคเหนือและภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมพงษ์ สมานจิต. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม: กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยพระพุทธศาสนา, 10(2), 45-60.
เสริมศิลป์ จูไธสง. (2548). การประเมินการใช้หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมชั้นตรี โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จังหวัดแพร่. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
