การพัฒนาระบบวิเคราะห์ความสามารถพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์เพื่อปรับพื้นฐานในการเรียนในสาขาคอมพิวเตอร์ด้วยแบบจำลองเอจายล์
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบวิเคราะห์, ความสามารถพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์, ระเบียบวิธีเอจายล์, การปรับพื้นฐานการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของระบบวิเคราะห์ความสามารถพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ และศึกษาความพึงพอใจของการใช้งานระบบ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำนวน 29 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ระบบวิเคราะห์ความสามารถพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์, แบบประเมินดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ ในการพัฒนาระบบวิเคราะห์ความสามารถพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ใช้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอจายล์ (Agile) ด้วยวิธี Extreme Programming ผลการวิจัย มีดังนี้ ระบบวิเคราะห์ความสามารถพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาวัดด้วยความสอดคล้องระหว่างแบบสอบวัดความสามารถพื้นฐานของระบบและองค์ความรู้ 5 ด้านตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ระหว่าง 0.6 ถึง 1.0 และมีความเที่ยงวัดจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson Method) ระหว่าง 0.86 ถึง 0.90 ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผันร่วมระหว่างการใช้วัดครั้งแรก และการใช้วัดครั้งหลังอยู่ในระหว่างร้อยละ 73.96 ถึง 81.00 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.75 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 1.00 ผู้ใช้งานมีระดับความพึงพอใจในการใช้งานระบบระดับมาก ( = 4.28, S.D = 0.23)
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับ ปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.
กรัณรัตน์ ธรรมรักษ์. (2559). ผลการศึกษาการใช้กระบวนการอาจายล์ในวิชาโครงงานกรณีศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. The Twelfth National Conference on Computing and Information Technology. (654-659).
กังวล เทียนกัณฑ์เทศน์. (2550). การวัดการวิเคราะห์ การประเมินทางการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2552). PHP. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design)
(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
จิม บาเร็ต (2553). The Aptitude Test Workbook คู่มือทดสอบความถนัด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). (แปลจาก The Aptitude Test Workbook โดย รัชนี อเนกพีระศักดิ์). กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊ค.
จุฑาทิพย์ ใจภักดี. (2553). กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ Agile ในการบริหารโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ประเทศไทย. การวิจัยโครงการเฉพาะ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชัยรัตน์ รอดเคราะห์. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการงานปริญญานิพนธ์และสารนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เชาวลี ตั้งศิริเสถียร. (2554). การพัฒนาระบบทดสอบความรู้พื้นฐานในการแนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ภายใต้โครงการแคมปัสติวเตอร์ออนไลน์. โครงงานปัญหาพิเศษ. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมรมมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุชจรี ปิดจ๊ะ.(2551). การพัฒนาระบบคลังข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมหวัง บุญสิทธิ์. (2551). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการวัดของแบบทดสอบอัตโนมัติที่สร้างโดยการคัดเลือกข้อคำถามวิธี Binary Programming. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุณิสา ทองเหลือ (2556). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (204-216).
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2549). ธนาคารข้อสอบและการทดสอบปรับเปลี่ยนด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สุมิตร ถังทอง. (2558). การพัฒนาคลังข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ศูนย์สรรหาและเลือกสรรสำนักงาน ก.พ. (2553). คู่มือการสร้างข้อสอบเพื่อการเลือกสรรบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2555). กระทรวงศึกษาธิการ. การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
น้ำฝน อัศวเมฆิน. (2558). หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Fundamentals of Software Engineering). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิตยา นาแก้ว. (2556). การพัฒนาระบบจัดการคลังข้อสอบและการสอบผ่านอินเทอร์เน็ต. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5.
นิรุธ อำนวยศิลป์. (2548). PHP How-to and Web-based Application Techniques. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
พิมพ์พรรณ ทิพยแสง. (2552). การเปรียบเทียบการพัฒนาระบบโดย Agile และ Non-Agile. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล,ไพบูลย์ เกียรติโกมล และเสกสรร แย้มพินิจ. (2546). การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ e-Learning. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรางคณา ปราชญ์ศิลป์. (2556). ระบบสารสนเทศออนไลน์เพื่อการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าประกันชีวิต กรณีศึกษา บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด สาขาอุบลราชธานี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
อัฐพร กิ่งบู. (2548). การพัฒนาระบบคลังข้อสอบสำหรับอินเทอร์เน็ตและจีพีอาร์เอส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : เอส ดี เพรส.
อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ. นนทบุรี : ไอดีซีฯ.
Roger S. Pressman, Ph.D. Software Engineering A Practitioner’s Approach: McGRAW-HILL INTERNATIONAL EDITION.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว