การพัฒนาสื่อดิจิทัล เรื่องเทคโนโลยีสีเขียว สำหรับ โรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นิธิวดี พะเทพ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสีเขียว, โรงเรียนมัธยมศึกษา, สื่อดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลเรื่องเทคโนโลยีสีเขียว สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลเรื่องเทคโนโลยีสีเขียวสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการชมสื่อดิจิทัลเรื่องเทคโนโลยีสีเขียวสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อดิจิทัล เรื่องเทคโนโลยีสีเขียว  แบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัล เรื่องเทคโนโลยีสีเขียว และแบบสอบถามความพึงพอใจสื่อดิจิทัล เรื่องเทคโนโลยีสีเขียว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนในสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดราชบพิธ, โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม และโรงเรียนวัดสุวรรณาราม และ นักเรียนในสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนหอวัง, โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง และโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชาจำนวน 270 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ผลการวิจัยพบว่า ผลของการประเมินประสิทธิภาพสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.75 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.12 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการชมสื่อดิจิทัลอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.19 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.03

Downloads

Download data is not yet available.

References

เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เน็ต. (2561). กรีนไอทีคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2561 จากhttp://www.ksc.net/greenit/.

ทรงยศ สุรีรัตนันท์. (2533, พฤษภาคม-สิงหาคม). กรีนไอที : เทคโนโลยีสารสนเทศที่พอเพียงและยั่งยืน,วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เทวา คำปาเชื้อ. (2552, มกราคม-มิถุนายน). เทคโนโลยีสารสนเทศสีเขียว. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. : 63-68.

ธรรมปพน ลีอำนวยโชค. (2550). INTRO TO ANIMATION: คู่มือการเขียนแอนิเมชั่น. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์.

ธรัช อารีราษฎร์, ผศ.ดร.ละอองทิพย์ มัทธุรศ, รศ.ดร. มนต์ชัย เทียนทอง และผศ.ดร.ดุษณี ศุภวรรธนะกุล. (2558, กรกฎาคม-ธันวาคม). การศึกษาการรับรู้และทัศนคติในการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่.

วิกร ปรัชญพฤทธิ์. (2561). ความหมายของกรีนไอซีที. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561 จาก

http://compcenter.bu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=72&Itemid=172.

Likert, Rensis. (1932). A Technique foe Measurement of Attitude. Achieves of Psychology: 1-55.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01