การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครูในยุคการศึกษาไทย 4.0
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้/ รูปแบบการใช้ผังกราฟิก/ ความสามารถในการคิดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครู ในยุคการศึกษาไทย 4.0 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครู ในยุคการศึกษาไทย 4.0 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ ผู้เข้าร่วมวิจัยครั้งนี้เป็น นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 25 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วิธีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ ประกอบด้วย 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาต้นแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ ช่วงที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ และช่วงที่ 3 การวิเคราะห์และปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และระยะที่ 2 การสรุปและการเผยแพร่การวิจัย
ผลการวิจัย มีดังนี้
- 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ แบ่งขั้นตอนการจัดกิจกรรมเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม เป็นขั้นที่นำขั้นตอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นร่วมด้วยกับการใช้ผังกราฟิก และขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
- 2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ กลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยผลสัมฤทธิ์ทางความสามารถในการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
- 3. หลังเข้าร่วมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ นักศึกษาวิชาชีพครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกฯ พบว่า อยู่ในระดับมาก
Downloads
References
กลุ่มงานวิชาการ สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.). (2545). ปัญจปฏิรูปการศึกษา แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
กำจร ตติยกวี. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ : 1. (14 ตุลาคม 2560) คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). การศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 สืบค้น 19 ตุลาคม 2560, จาก
http://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/
ทิศนา แขมมณี. (2545). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย._____. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ: แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริก หวาน-กราฟฟิค จำกัด
วลัย พานิช. (2543). การสอนด้วยวิธี Storyline. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิริลักษณ์ แก้วสมบูรณ์. (2543). ผลการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อการ นำเสนอข้อความรู้ด้วยผังกราฟิกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เสาวลักษณ์ พิศิษฐ์ไพบูลย์. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. สืบค้น 14 ตุลาคม 2560, จาก http://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/Bayer, B. K. (1997). Student thinking: A comprehensive approach. America: Allyn and Bacon.
Clark, J. H. (1991). Using Visual Organizer to Focus on Thinking. Washington, D.C.: American Council on Education.
Wallas, G.(2008). Working definition of problem solving. The art of thought. New York: Harcourt Brace.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว