การพัฒนาโปรแกรมทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การพัฒนาโปรแกรม/ ความจำเหตุการณ์/ ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสิ่งเร้าความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุ และพัฒนาโปรแกรมทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครจากชมรมผู้สูงอายุ ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุ และแบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัยปรากฎว่า
- 1. สิ่งเร้าความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ชุดที่ 1 การเรียกคืนความจำแบบทันที และชุดที่ 2 การเรียกคืนความจำเมื่อปล่อยให้ระยะเวลาผ่านไป 25 นาที จากการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) จากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ (I-CVI) ทั้ง 2 ชุด อยู่ระหว่าง .08-1.00 และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ .95 และ .99 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยง (Reliability) ด้วยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ .90 และ .89 ตามลำดับ
- 2. โปรแกรมทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 การเรียกคืนความจำแบบทันที และชุดที่ 2 การเรียกคืนความจำเมื่อปล่อยให้ระยะเวลาผ่านไป 25 นาที จากการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่า มีความเหมาะสมในการใช้ทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.56, SD=.61)
สรุปได้ว่า โปรแกรมทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ทดสอบความจำเหตุการณ์สำหรับผู้สูงอายุได้ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
จุฑารัตน์ เสาวพันธ์ และเพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์. (2559). ประสบการณ์ของผู้ดูแล ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมอง เสื่อม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 34(3): 110-116.
ตระการกุล ฉัตรวงศ์วิวัฒน์. (2556). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความจำต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้าน ความจำในผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล. 28(2), 98-108.
นงลักษณ์ คำบัวตอง. (2553). การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อมที่มารับบริการใน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.
ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ, สุรีย์ ธรรมิกบวร, และสุรสม กฤษณะจูฑะ. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาค ผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. 14(1): 133-161.
มุกดา หนุ่ยศรี. (2559). การป้องกันภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1): 227-240.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
ละเอียด แจ่มจันทร์. (2549). สาระทบทวนผู้สูงอายุไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : บริษัท จุดทอง จำกัด.
Ames D, Burns A, O’Brien J. (2010). Dementia in intellectual disabilities (4th Ed.). London: Hodder Arnold.
Ballesteros, S., Prieto, A., Mayas, J., Toril, P., Pita, C., Ponce de León, L., Waterworth, J. (2014). Brain training with non-action video games enhances aspects of cognition in older adults: a randomized controlled trial. Frontiers in Aging Neuroscience, 6. doi:10.3389/fnagi.2014.00277.
Pallant, J. (2013). SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using the SPSS Program (5th ed.). Maidenhead, Berkshire, England: McGraw-Hill.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The content validity index: are you sure you know what's being reported? Critique and recommendations. Research in nursing & health, 29(5): 489-497.
Tulving, E., & Markowitsch, H. J. (1998). Episodic and declarative memory: role of the hippocampus. Hippocampus, 8(3): 198-204.
Wechsler, D., Coalson, D. L., & Raiford, S. E. (1997). WAIS-III: Wechsler adult intelligence scale: Psychological Corporation San Antonio, TX.
Wechsler, D. (1999). Wechsler Abbreviated Scale of Intelligence. The Psychological Corporation: Harcourt Brace & Company. New York, NY.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว