ภาพแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จากบทเพลงแสดงความอาลัยการสวรรคต

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ สุธรรมดี

คำสำคัญ:

ภาพแทน/ กลวิธีทางภาษา/ เพลงแสดงความอาลัยการสวรรคต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการนำเสนอภาพแทนพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากบทเพลงแสดงความอาลัยการสวรรคตจำนวน 50 เพลง ผลการศึกษาพบว่า บทเพลงสร้างสรรค์ขึ้นด้วยกลวิธีทางภาษาที่หลากหลายแต่สอดประสานกันทั้งนี้กลวิธีทางภาษาที่โดดเด่นได้แก่ แก่นเรื่อง ภาพพจน์ และสัญลักษณ์  กลวิธีเหล่านี้ก่อให้เกิดภาพแทนสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ พระราชาผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงประชา พระราชาผู้ทรงงานหนัก พ่อของแผ่นดิน และ พระผู้จุติมาจากฟากฟ้า ภาพแทนเหล่านี้สื่อความหมายทางวัฒนธรรมว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ พระองค์จึงทรงเป็นบุคคล “ต้นแบบ” ที่จะสถิตอยู่ในหัวใจคนไทยตลอดกาล

Downloads

Download data is not yet available.

References

เพลงแสดงความอาลัยการสวรรคต ได้แก่ ดวงแก้วดับขันธ์ พ่อภูมิพล เพื่อพ่อ เทวดากลับฟ้า พ่อของฉัน ฯลฯ.

[ออนไลน์]. ได้จาก http://www.youtube.com [สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560].

มารศรี สอทิพย์และธารารัตน์ เป็ดทิพย์. (2561). ภาพแทนครูในบทเพลงชุด “ครูในดวงใจ”. การประชุม วิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. 19 มีนาคม 2561 มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันชนะ ทองคำเภา. (2550). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา จงสถิตวัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล: ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. โครงการเผยแพร่ผลงาน วิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ . [ออนไลน์]. ได้จาก

http://www.rdpb.go.th [สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561].

อิราวดี ไตลังคะ. (2543). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Hall, S. (1997). Representation: culture representations and signifying practices. London: Sage.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01