การศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมอด้วยเทคนิค TGT ที่มีต่อการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT/ ความพึงพอใจ/ ความคงทนในการเรียน/ ความคล้ายบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT และ 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม ทั้งหมด 39 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยพิจารณาคัดเลือกห้องเรียนที่มีนักเรียนคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความคล้าย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TGT เรื่อง ความคล้าย จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคงทนในการเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT
Downloads
References
ทราภรณ์ อนุทุม. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TGT. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 – 20 ปี. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
สุวิทย์ มูลคำ. (2557). กลยุทธ์...การสอนคิดเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาคพิมพ์.
อารีรัตน์ ศิริ. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนของคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดศรีดงเย็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว