การปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถาบันการผลิตครู

ผู้แต่ง

  • ทยาตา รัตนภิญโญวานิช
  • ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว
  • มนตรี แย้มกสิกร

คำสำคัญ:

จรรยาบรรณ/ จรรยาบรรณวิชาชีพครู/ การปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ/ สถาบันการผลิตครู

บทคัดย่อ

ครูถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศ หากประเทศใดมีครูที่มีความรู้ มีความสามารถในการสอนก็จะทำให้ประเทศนั้นมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ  สถาบันการผลิตจึงต้องผลิตและพัฒนาครูให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ มีสมรรถนะในการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้ว ยังต้องเป็นต้นแบบที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  

จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นกฎเกณฑ์ในวิชาชีพ และเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมภายในของบุคคล  มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกฎเกณฑ์ บรรทัดฐานในวิชาชีพ การปฏิบัติว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีควรปฏิบัติเพื่อให้เกิดการควบคุมในวิชาชีพที่ทุกคนยอมรับและปฏิบัติตาม จรรยาบรรณวิชาชีพครูจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่สถาบันการผลิตครูจะต้องปลูกฝังและพัฒนาให้กับนักศึกษาครู เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการเอาใจใส่ การให้ความรู้ การรักษาระเบียบวินัย การแสดงกริยามารยาท การสอนคุณธรรมให้กับผู้เรียน และการให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ จะทำให้นักศึกษาครูเกิดความรักและศรัทธาในวิชาชีพ อันจะก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีงาม ได้รับความไว้วางใจจากสังคม ชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรกช วิชัย. (2551). การพัฒนาแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ความเมตตากรุณา และความยุติธรรมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่พะเยา เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กฤษณา ผ่องสุวรรณ.(2540). การศึกษาผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพด้านการสอน จริยศึกษาของครูระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

โกวิท ประวาลพฤกษ์และภณิดา คูสกุล. (2549). “พัฒนาการของจริยศึกษา” ในเอกสารการสอนชุดจริยศึกษา, (หน้า 6-7).นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

จุติมา รัตนพลแสนย์. (2559). การพัฒนาแบบวัดจริยธรรมวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ดวงเดือน พะยอมหอม. (2548). การศึกษาพฤติกรรมการสอนพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธร สุนทรายุทธ. (2553). การบริหารจัดการเชิงจิตวิทยา: หลักการประยุกต์ และ กรณีศึกษา.กรุงเทพฯ: บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณฉวี ประยูรพรหม. (2551). การพัฒนาแบบวัดความถนัดทางวิชาชีพครูไทย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พเยาว์ เนตรประชา. (2555). การพัฒนาจริยธรรมวิชาชีพครูของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาด้วยการวิจัยเชิงบูรณาการ.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรรตนฤน เพชรวิวรรธ. (2546). การศึกษาการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็กนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระเดิมแท้ ชาวหินฟ้า รัศมี กฤษณมิษ สุวิดา แสงสีหนาท. (2551). การศึกษาแนวทางการปลูกจิตสำนึกคุณธรรมผ่านระบบการศึกษา : กรณีศึกษามูลนิธิฉือจี้ ไต้หวัน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.

พระเมธะรรมมาภรณ์ (ประยูร ธรรมจิตโต). (2538). จรรยาบรรณของข้าราชการ.กรุงเทพฯ:มูลนิธิพุทธธรรม.

พระราชวรมุณี(ประยูร ธรรมจิตโต). (2541). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:มูลนิธิพุทธธรรม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2550). หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป หลักการและวิธีดำเนินการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนวดี โชติกพนิช.(มปป.). จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู CU 503.ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

วิทยากร เชียงกูร. (2544). ทางรอดของประเทศไทย :ปฏิวัติกรอบวิธีคิดและระบบการเรียนรู้ใหม่.กรุงเทพฯ: เรือนปัญญา.

สุชาดา จิตพิทักษ์.(2541). การกำหนดพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ : สารมวลชน.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2545). คู่มือการวัดทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : เมดิคัล มีเดีย

สัจกาณฑ์ คเชนทร์พนาไพร. (2560). ตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตร์สาร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที 1, ฉบับที่3. 28-40.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01