สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน สาขาวิชาภาษาไทย ระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัย ณ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
คำสำคัญ:
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย/ นักศึกษาจีน/ มณฑลยูนนานสาธารณรัฐประชาชนจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของนักศึกษาชาวจีน หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยในมหาวิทยาลัย ณ มณฑลยูนนาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาจีนชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทยที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 655 คน ในมหาวิทยาลัย 16 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ในกระบวนการเรียนการสอน นักศึกษามีการเข้าชั้นเรียนทุกครั้งและผู้สอนมีการแนะนำความรู้นอกตำราเรียนเป็นอย่างมาก กิจกรรมที่จัดในห้องเรียนจะเน้นด้านทักษะการแปลและการเขียนมากกว่าด้านทักษะการพูด การอ่านและการฟัง กิจกรรมนอกห้องเรียนเน้นด้านการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและด้านการฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาไทย ทั้งนี้การดูภาพยนตร์ ละครไทย และฟังเพลงไทยเป็นกิจกรรมนอกห้องเรียนที่นักศึกษาเคยร่วมมากที่สุด สำหรับสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนประกอบด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของรายวิชา ซึ่งตำราเรียนเป็นสื่อที่ใช้มากอันดับแรก ส่วนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนของรายวิชามีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน ทั้งนี้การวัดผลจากการปฏิบัตินอกห้องเรียนเป็นวิธีที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับแรก
Downloads
References
พรรณทิวา ไชยชนะ. (2553). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของชาวต่างชาติ ในการเรียนภาษาไทย. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). สถานภาพงานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย.วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 207-222.
ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร. (2559, เมษายน-มิถุนายน). เส้นทางสายไหมตอนใต้กับยุทธศาสตร์ One Belt and One Road กับโอกาสทางการค้าของไทย The Southern Silk Road, The One Belt and One Road Strategy Trade Opportunity for Thailand.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(2), 109-209.
รุ่งทิวา จักร์กร. (2527). วิธีสอนทั่วไป. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สมคิด กอมณี. (2547). ยุทธศาสตร์การสอน : เอกสารประกอบการสอนวิชา ศึกษา 361 ยุทธศาสตร์การสอน =ED 361teaching strategies (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมยศ ศุภกิจไพบูลย์. (2560). จีน-ไทยผูกพันฉันพี่น้อง. กรุงเทพฯ ย้อนรอย.
สิระ สมนาม, และ คนอื่นๆ. (2552, ธันวาคม 51-พฤษภาคม 52). ลักษณะการเรียนรู้และกลวิธีการเรียนรู้ภาษาของนักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ณ สถาบันอุดมศึกษา เขตภาคเหนือตอนบน.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2(2), 80, 83.
สุพิน บุญชูวงศ์. (2538). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 8 ). กรุงเทพฯ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.
สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Chen, Y. F. (2562). สภาพการเรียนภาษาไทยด้านหลักสูตรของนักศึกษาชาวจีน สาขาวิชาภาษาไทย ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย ณ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. ใน การประชุมวิชาการนานาชาติเกาหลีศึกษา-ไทยศึกษา ครั้งที่ 6 เรื่อง “ไทย-เกาหลี พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมดิจิทัล” ระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมธมมรรินทร์ ธนา (น. 125-145). ตรัง: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
Lin, X. M. (2558). การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน: อดีต ปัจจุบัน อนาคต. ใน ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาษา วรรณคดีไทย และการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ : การเรียนรู้และสร้างสรรค์จากสังคมไทยสู่สังคมโลก ครั้งที่ 2 : การประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่ 25-26 มิถุนายน 2558 ณ โรงแรม Swissotel te Concorde Bangkok (น. 28-43). กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.
Bi, Y. (2013). 关于泰语教学的几点思考. Academy(7), 21.
Li, Y. J. (2015). 以市场需求为导向的地方泰语教学改革探究 - 以曲靖师范学院为例. English on Campus(6), 21.
The State Information Center The Belt and Road Big Data Center. (2017). Big Data Report of
Trade Cooperation Under The Belt and Road Initiative Retrived from cn/wcm.files/upload/CMSydylgw/201703/201703241243039.pdf
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว