ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT

ผู้แต่ง

  • ศิริพร พุ่มพวง
  • นันทพร ชื่นสุพันธรัตน์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT; ความพึงพอใจ; ความคงทน; อสมการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT และ 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง อสมการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ปีการศึกษา 2562 โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน ที่มีนักเรียนคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่อง อสมการ จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียน เรื่อง อสมการ เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) 0.40 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.2 – 0.6 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.63 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เป็นแบบสอบถาม จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรวีณา ศรีละพันธ์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแข่งขัน TGT. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้รียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซน์แอนด์ปริ้นติ้ง.

ทราภรณ์ อนุทุม. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ:บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

____________. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พิชิต ฤทธิ์เจริญ. (2557). หลักการวัด และประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เฮาท์ ออฟ เดอะมิสท์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2556). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : วิกฤติการศึกษาไทย : ทางออกที่รอการแก้ไข. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รักษ์สิริ แพงป้อง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิต กับกระบวนการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูหนวกจากการสอนแบบ POSSE ร่วมกับสื่อวีดิทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลักขณา สรีวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์

วิโฬฎฐ์ วัฒนานิมิตกูล. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอน : องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาสู่ผู้เชี่ยวชาญการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด

วันวิสา กองเสน. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมจิตต์ ซุยจันทึก. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่อง เลขยกกำลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน และการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

สุมาลี ชาญมหาพน. (2556). คู่มือคณิตศาสตร์พื้นฐานม.1 เล่ม 1. นนทบุรี: ธรรมบัณฑิต

สุรางค์ โค้วตระกูล และคณะ. (2560). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ. (2560). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สิริรัตน์ วิภาสศิลป์, ณรงค์ ทีปประชัย. (2556). “หน่วยที่ 12 การประเมินการเรียนการสอน”. ในประมวลเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) หน่วยที่ 9 -15. หน้า (12-1) - (12-75). (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โสภาภรณ์ วัจนพิสิฐ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบแก้ปัญหา ร่วมกับการเสริมแรง กับวิธีสอนตามคู่มือครูของ สสวท.ร่วมกับการเสริมแรง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2558). การวัดผลและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

อารี บัวศรี. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิค TGT เรื่อง กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01