การเรียนรู้โดยบริการสังคมแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุกของนักศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ:
การเรียนรู้โดยบริการสังคมแบบอิเล็กทรอนิกส์; การเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุก; การเรียนร่วมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จัดการเรียนรู้โดยบริการสังคมแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุก (2) ศึกษาการเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุกของนักศึกษาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 19 คน ประกอบด้วย นักศึกษาทั่วไป 13 คน นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 4 คน และนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยบริการสังคมแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุก (2) เทคโนโลยีดิจิทัลการจัดการเรียนรู้บริการสังคมแบบอิเล็กทรอนิกส์ (3) แบบสอบถามการปฏิบัติการเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุก ผลการวิจัยพบว่า (1) การเรียนรู้โดยบริการสังคมแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุกประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) จัดกลุ่มวางแผนดำเนินโครงการ 2) สืบเสาะหาความรู้และวิเคราะห์ปัญหา 3) ดำเนินโครงการชุมชนมีส่วนร่วม 4) ดำเนินโครงการต่อเนื่องเพื่อเชื่อมโยงความรู้ 5) นำเสนอผลการดำเนินโครงการ เผยแพร่ความรู้ และ 6) สรุปผลการเรียนรู้และสะท้อนความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (2) การเรียนรู้ดิจิทัลเชิงรุกของนักศึกษา ภาพรวมมีการปฏิบัติเป็นประจำ โดยเรียงจากมากไปน้อยได้ดังต่อไปนี้ 1) การสืบเสาะหาความรู้ 2) ทำงานเป็นทีม 3) การถ่ายทอดความรู้และการเชื่อมโยงความรู้ 4) การเผยแพร่ความรู้ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสื่อสาร 6) การสะท้อนความรู้ ตามลำดับ
Downloads
References
ฐิติยา เนตรวงษ์. (2557). การพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและจิตอาสาด้วยการเรียนแบบผสมผสานและโครงการรับใช้สังคมเป็นฐาน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม สจล. 13(3), 59-65.
Ally, M. (2008). Foundations of educational theory for online learning. The theory and practice of online learning (2nd ed.). pp. 4-31. Edmonton: Athabasca University Press.
Cooper, T. and Scriven, R. (2017). Communities of inquiry in curriculum approach to online learning: Strengths and limitations in context. Australasian Journal of Educational Technology. 33(4), 22-37.
Guthrie, K. L., & McCracken, H. (2010). Making a difference online: Facilitating service-learning through distance education. Internet and Higher Education. 13(2010), pp.153-157.
Guthrie, K. L., & McCracken, H. (2010, July). Reflective pedagogy: Making meaning in experiential based online course. The Journal of Educators Online. 7(2), pp.1-21.
Guthrie, K. L., & McCracken, H. (2010). Teaching and learning social justice through online service-learning courses. International Review of Research in Open and Distance Learning. 11(3), pp.78-94.
Netwong, T. (2019, February). The school library roles in information services through mainstreaming for enhance 21st century learning skills. International Journal of Information and Education Technology. 9(2), pp. 154-158.
Power, A. (2010). Community engagement as authentic learning with reflection. Educational Research. 20(1), pp.57-63.
Punie, Y. and Ala-Mutka, K. (2008). Learning Spaces: Opportunities and Challenges for Future Learning Environments. Learning in the 21st Century; OECD/CERI. Paris: Institute for Prospective Technological Studies.
Said, H., Ahmad, I., Yassin, M. A., Mansor, S. S., Hassan, Z., & Alrubaay, I. (2014). Using e-service learning for promoting digital citizenship. Life Science Journal. 11(3), pp.154-159.
Salmon, G. (2002). E-tivity: The Key to Active Online Learning. London: KOGAN PAGE.
Strait, J. & Sauer, T. (2004). Constructing experiential learning for online courses: The birth of e-service. EDUCAUSE QUARTERLY. 1(2004), pp.62-65.
Waldner, L., McGorry, S., & Widener, M. (2010). Extreme e-service learning (XE-SL): E-service learning in the 100% online course. MERLOT Journal of Online Learning and Teaching. 6(4), pp.839-851.
ฐานข้อมูลออนไลน์
Cambridge Assessment International Education. (2019). Active Learning. [Online]. Available: http://www.cambridgeinternational.org/events. [2019, February 13].
International Federation of Library Associations and Institutions. (2015). IFLA School Library Guidelines. [Online]. Available: https://creativecommons.org/licenses/by/3.0. [2017, January 15].
Rutgers University. (2019). Active Learning Community. [Online]. Available: https://dcs.rutgers.edu/active-learning/community. [2019, February 13].
Wells, M. S. (2017). Why Digital Learning Communities?. [Online]. Available: http://inservice.ascd.org/creating-spaces-for-families-exploring-digital-learning-communities/. [2019, February 13].
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว