การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (บึงขุนทะเล) อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนา; ความพึงพอใจ; ระบบบริการผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี (บึงขุนทะเล) อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน เป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ระยะก่อนการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ใช้บริการ จำนวน 8 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยสัมภาษณ์เชิงลึกประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการผู้ป่วยนอก 2) ระยะพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสนทนากลุ่มทีมวิชาชีพที่ให้บริการในการออกแบบระบบบริการ 3) การทดลองใช้รูปแบบและการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการ จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบด้านการคัดกรอง ด้านบริการเวชระเบียน และด้านบริการตรวจรักษาโรค 3) แบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า ผลการดำเนินการพัฒนาระบบครอบคุลมทั้งด้านการคัดกรอง ด้านบริการเวชระเบียน และด้านบริการตรวจรักษาโรค กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อระบบบริการ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการคัดกรอง 2) ด้านบริการเวชระเบียน และ 3) ด้านบริการตรวจรักษาโรค ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.58, SD = 0.53) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำระบบบริการที่ได้จากการพัฒนาในครั้งนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพบริการเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
Downloads
References
กัลยาณี จีราระรื่นศักดิ์, ทิพาพันธ์ สังฆะพงษ์ และรัตนา ปานเรียนแสน. (2559). การปรับปรุงกระบวนการบริการแผนกผู้ป่วยนอกคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
คัทลียา วสุธาดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 80-89.
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์, อาทิตยา วังวนสินธุ์ และบัวพลอย พรมแจ. (2562).
พัฒนาการระบบสุขภาพอำเภอของประเทศไทย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 1-8.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ ไออินเตอร์มีเดีย.
วิสาร์กร มดทอง, พรรณนิภา รักพาณิชย์ และอุรชา อำไพพิศ. (2557). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยห้องตรวจอายุรกรรมงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(6), 1045-1050.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 - 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.plan.cmru.ac.th/documents/nation/121-60-64.pdf
เอมิกา แช่มศรีรัตน์, พูลฉัตร วิชัยดิษฐ์ และสนชัย ใจเย็น. (2559). การพัฒนางานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 3(2), 213-234.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว