คุณภาพชีวิตแรงงานไทยในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต; แรงงานไทย; เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แรงงานไทยในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานขายโดยทำงานมาแล้ว 1-3 ปี และพักอาศัยบ้านของตนเอง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อปี 60,001 – 120,000 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อปี 60,001 – 120,000 บาท และมีเงินเก็บ/ออมเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 12,000 บาท สำหรับคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย ภาพรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (=3.47, S.D.=1.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ใน 3 ลำดับแรกอยู่ในระดับมาก ดังนี้ 1) ด้านประชาธิปไตยในสถานประกอบการ (=3.56, S.D.=0.96) 2) ด้านประโยชน์และความรับผิดชอบต่อสังคม (=3.54, S.D.=0.97) และ 3) ด้านการพัฒนาความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน (=3.51, S.D=0.95) การเปรียบเทียบค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานไทย พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาและอายุการทำงานที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของ แรงงานไทย แต่สถานภาพกับอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Downloads
References
ชาลิตา พรหมมาตร์ จีราพัชร์ พลอยนิลเพชร และเบญฑิรา รัชตพันธนากร. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทํางานของพนักงานโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราในจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 1(1), 13-23.
ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). คุณภาพชีวิตของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พิศโสภา ทีฆาวงค์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2552). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
รัตนาภรณ์ บุญมี. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาดี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งวิกรัย หยอมแหยม. (2554). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัท เมวะ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วาริณี โพธิราช. (2558). คุณภาพชีวิตการทํางานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์. ศูนย์วิจัยและพัฒนา วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). คุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่คำตอบ เข้าถึงได้จาก https://tdri.or.th/2014/07/quality-of-life-after-300-baht/. วันที่สืบค้น 15 มีนาคม 2562
สมพร สังข์เพิ่ม. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุดารัตน์ ครุฑสึก. (2557). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์กรและการสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุเนตร นามโคตรศรี. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูป โภค สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2554). คุณภาพชีวิตแรงงาน. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/20860. วันที่สืบค้น 5 ธันวาคม 2562.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2556). ระบบตรวจสุขภาพแรงงาน ใหม่ หวังช่วยแรงงานไทยทำงานปลอดภัยได้จริง. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/16438.html. วันที่สืบค้น 15 มีนาคม 2562.
สำนักงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก. (2561). ศักยภาพของจังหวัดตาก. เข้าถึงได้จาก http://www.taksez.com/th/page/takpotential.html. วันที่สืบค้น 5 ธันวาคม 2562.
อาทิตยา เปี่ยมส้ม, ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์, พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์. การประชุมวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1 (หน้า 895-910). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว