การใช้สื่อพื้นบ้านเพื่อการให้ความรู้ทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • วนภรณ์ จักรมานนท์
  • วิทยาธร ท่อแก้ว
  • สุภาภรณ์ ศรีดี

คำสำคัญ:

สื่อพื้นบ้าน; การให้ความรู้; การเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง “การใช้สื่อพื้นบ้านเพื่อการให้ความรู้ทางการเมือง” เป็นการนำเสนอความรู้แง่มุมของการประยุกต์ใช้สื่อพื้นบ้าน เพื่อเป็นช่องทางในการให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น    ด้วยเพราะลักษณะของสื่อพื้นบ้านที่มักมีความเป็นมาและความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นมายาวนาน อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี จนได้รับการสืบทอดกันมาจนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ประกอบกับเป็นตัวประสานสัมพันธ์กับบุคคลตามบทบาทหน้าที่ของสื่อพื้นบ้าน ซึ่งบทความดังกล่าวนี้ถือเป็นนวัตกรรมการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างเนื้อหาทางการเมืองกับการใช้ศาสตร์ด้านวัฒนธรรมมาผสมผสานเข้าด้วยกัน อันจะนำมาสู่แนวคิดและการประยุกต์ใช้สื่อพื้นบ้านในการให้ความรู้ทางการเมืองในท้องถิ่นอื่น ๆ รวมถึงนักการเมือง นักวิชาการหรือผู้สนใจสามารถนำแนวทางในการใช้สื่อพื้นบ้านเพื่อให้ความรู้ทางการเมืองไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สื่อพื้นบ้านศึกษาในสายตานิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

.____________. (2554). สื่อเก่า สื่อใหม่ ใจเชื่อมร้อย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2559, 1 ตุลาคม). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. http.//www.culture.go.th

จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. (2553). การสื่อสารกับการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการเกษตรในจังหวัดชัยนาทเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษา ข้าวกล้องหอมนิลของกลุ่มอินทรีย์ชีวภาพบ้านใหญ่. วารสารจันทรเกษมสาร 15(29), 17-30.

ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล. (2554). สื่อพื้นบ้านกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนศาลายา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เทคนิคในกระบวนการจูงใจ. ทฤษฎีการโน้มน้าวใจ. เข้าถึงได้จาก http://old-book.ru.ac.th/e-book/a/AP205/Ap205-7.pdf วันที่สืบค้น 20 มิถุนายน 2563

ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2562). แนวทางการศึกษาชุดวิชา การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นขั้นสูง ประเด็นสาระที่ 3 แนวทางและประเด็นปัญหาการวิจัยการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เธียรชัย อิศรเดช กาญจนา แก้วเทพ. (2549). สื่อพื้นบ้านขานรับงานสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นารีนารถ กิตติเกษมศิลป์. (2539). การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ผ่านสื่อพื้นบ้านเพลงซอ [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์. (2560). การสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองผ่านหนังตะลุง [วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิชิต ทนงค์. (2550). การสื่อสารทางการเมืองกับการสร้างอัตลักษณ์ประชาธิปไตยของเยาวชนในจังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พีระพงศ์ สุจริตพันธ์. (2562). การสื่อสารทางการเมืองผ่านหนังตะลุงภาคใต้ : ศึกษาในห้วงวิกฤตการณ์. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562), หน้า 276.

พุทธา ศรีสุวรรณ. (2552). การศึกษาการเปิดรับและความพึงพอใจต่อสื่อพื้นบ้านภาคใต้ของเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ยุทธพร อิสรชัย. (2561). หน่วยที่ 8 แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วลัญช์ภัทร จียังศุวัต. (2559). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้นบ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศรีปาน รัตติกาลชลากร. (2538). บทบาทของสื่อพื้นบ้านในวัฒนธรรมมอญในอำเภอพระประแดง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสุข หินวิมาน. (2548). สื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2563). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01