การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอ่าวปัตตานีเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ศิริวิภา เคียงพิมาย
  • หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์
  • พรชัย พรหฤทัย
  • สุภาภรณ์ คางคำ

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ; หลักสูตรท้องถิ่น; อ่าวปัตตานี; การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรอ่าวปัตตานีอย่างยั่งยืนในโรงเรียนประถมศึกษา กระบวนการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 การพัฒนาโจทย์วิจัย เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตร และระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างหลักสูตร 2) การทดลองใช้หลักสูตร และ 3) การประเมินหลักสูตร ซึ่งเป็นขั้นวิเคราะห์ผลการทดลองใช้และปรับปรุงหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์กลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการศึกษา ได้หลักสูตรท้องถิ่นอ่าวปัตตานีเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้ที่เป็นสาระหลักของวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้ คือ วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและหาความรู้ด้วยตนเอง มีกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบและการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลายและเหมาะสมกับระดับชั้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2545). การพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่นในระดับโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

จริยา ศรีเพชร. (2550). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเรื่องคลองมหาสวัสดิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ชัยวัฒน์ รังสิมันตุ์วงศ์ และ ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชุมชน. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.

ประกาศิต อานุภาพแสนยากร. (2548). หลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ซุกรี หะยีสาแม. (2557). อ่าวปัตตานี ข้อเท็จจริงและความท้าทาย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สุธี วรประดิษฐ. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด. ตราด: สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2540). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เสริมศรี วิทวัสชุติกุล. (2546). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งเรือง ราชมณีและคณะ (2555). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบลายผ้ามัดหมี่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยโส้บ้านโพนจาน จังหวัดนครพนม. วารสารการวัดผลการศึกษา. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม 2555.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น : ยุทธศาสตร์ การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991.

Armstrong, O. (1989). Fundamentals of Curriculum. New York : Harcourt, Brace and World.

Beauchamp, George A. (1981). Curriculum Theory. 4th ed. Boston : Peacock.

Saylor, P., D. Alexander and J. Lewis. (1981). Curriculum Implementation. New York :Prentice-Hall,

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01