กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารความกลัวในการ์ตูนแนวระทึกขวัญจากแอปพลิเคชันเว็บตูน

ผู้แต่ง

  • อัควิทย์ เรืองรอง

คำสำคัญ:

ความกลัว; การ์ตูนแนวระทึกขวัญ; กลวิธีการใช้ภาษา/เว็บตูน

บทคัดย่อ

การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ทำให้มีผู้อ่านการ์ตูนในรูปแบบของ แอปพลิเคชันมากขึ้น ผู้วิจัยสนใจเรื่องความกลัวในการ์ตูนแนวระทึกขวัญ เนื่องจากมนุษย์แสดงออกมาตามธรรมชาติเมื่อรู้สึกกลัวซึ่งเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์หาทางอยู่รอดทั้งนำมาเป็นแรงผลักดันในทางถูกต้องที่สามารถพัฒนามนุษย์ไปสู่การพัฒนาสังคมได้

                    งานวิจัยเรื่องกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารความกลัวในการ์ตูนแนวระทึกขวัญจากแอปพลิเคชันเว็บตูน          มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะของเนื้อหาความกลัว 2. ศึกษากลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่อความกลัว ผู้วิจัยเลือกข้อมูลจากการ์ตูนแนวระทึกขวัญในแอปพลิเคชันเว็บตูน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2560 จำนวน 5 เรื่อง โดยเลือกจากจำนวนยอดไลค์ของผู้อ่าน ได้แก่ 1. เรื่อง Bastard 2. เรื่อง ตอนนี้ โรงเรียนของเรา... 3. เรื่อง เรื่องเล่าจากวิญญาณ 4. เรื่อง Sinsin’s House บ้านนี้ผี(ไม่)หลอน และ 5. เรื่อง ร่องรอยจากมือถือ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้กรอบความคิดในเรื่องของความกลัวในการ์ตูนระทึกขวัญและกลวิธีการใช้ภาษา แล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์        

         ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะของเนื้อหาความกลัวพบ 5 ลักษณะ ซึ่งมีลำดับดังนี้ คือ ความกลัวเกี่ยวกับตัวเองและความกลัวเกี่ยวกับความจริง เป็นเนื้อหาที่ผู้แต่งนิยมใช้มากที่สุด และเนื้อหาความกลัวเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่รู้และไม่สามารถสัมผัสได้ ความกลัวเกี่ยวกับผู้อื่น ความกลัวเกี่ยวกับสัตว์และแมลง เป็นเนื้อหาที่ผู้แต่งนิยมใช้รองลงมาตามลำดับ 2. กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารความกลัว มีกลวิธีการใช้วัจนภาษาเพื่อสื่อสารความกลัว คือการใช้คำ และใช้ภาพพจน์ล้วนช่วยสื่อความหมายและความลึกซึ้งทางอารมณ์ให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น และกลวิธีการใช้อวัจนภาษาเพื่อสื่อสารความกลัว คือการใช้สีหน้า ใช้ท่าทาง ใช้สี ใช้ลายเส้น และใช้ขนาดตัวอักษร เรียงลำดับจากมากไปน้อย ลักษณะดังกล่าวช่วยเน้นความหมายและความรู้สึกของตัวละครให้เข้มข้นยิ่งขึ้นเนื้อหาความกลัวที่ปรากฏในการ์ตูนแนวระทึกขวัญสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนชีวิตของมนุษย์  ในการแสดงความกลัวเหล่านั้นออกมาผ่านทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา

Downloads

Download data is not yet available.

References

ตอนนี้ โรงเรียนของเรา… . (2559). เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จากhttps://www.webtoons.com

/th/thriller/now-our-school/list?title_no=600

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2542). นวนิยายกับสังคมไทย พ.ศ. 2475 - 2500. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บางกอกการพิมพ์. ร่องรอยจากมือ. (2560). เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.webtoons.com/th/drama/traces-of-hands/list?title_no=1103

เรื่องเล่าจากวิญญาณ. (2560). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.webtoons.com/

th/thriller/ghost-teller/list?title_no=944

วชรีกร อังคประสาทชัย และยุนี พงศ์จตุรวิทย์. (2561). ความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2561), 222 - 230.

วรวุธ สุวรรณฤทธิ์. (2546). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุชาดา ปราบมีชัย, สมสมร เรืองวรบูรณ์ และพัชนี สมกำลัง. (2560). การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการความกลัวในเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนมฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม, วันที่ 17 - 19 พฤษภาคม 2560, 196 - 202.

เอื้องกานท์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง. (2552). การศึกษาความกลัวของเด็กไทย. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bastard. (2560). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.webtoons.com/th/thriller/

bastard/list?title_no=637&page=10

Giftoun. (2561). ความกลัวมีผลอย่างไรกับเด็กและควรเลี้ยงแบบไหนให้ไร้ความกลัว. เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.parentsone.com/how-to-protect-without-fear/

McGlasson, Michael.The Psychology of Fear.Retrieved 22 February 2018. From http://constructinghorror.com/index.php?id=61

Sinsin's House บ้านนี้ผี(ไม่)หลอน. (2559). เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.webtoons.com/th/thriller/sinsinhouse/list?title_no=521

Vanat Putnark. (2559). “รู้ว่าน่ากลัวแต่ทำไมชอบดูกันนักเรื่องสยองเนี่ย” ความกลัวทำให้เราเติบโตทางความรู้สึก. เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561. เข้าถึงได้จาก https://thematter.co/pulse/why-we-love-being- fear/11515

เผยแพร่แล้ว

2022-02-01