รูปแบบการสื่อสารทุนชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ

คำสำคัญ:

การสื่อสาร; ทุนชุมชน; ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

บทคัดย่อ

          ผลการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารทุนชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ทั้ง 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี บ้านสวายสอ และชุมชนบ้านตาลอง มีการนำทุนชุมชนมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นจุดขายของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และสมาชิกชุมชนเป็นเจ้าบ้านที่ดี โดยมีรูปแบบการสื่อสารแบบผสมผสาน ทั้งการสื่อสารแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ ทั้งในลักษณะการสื่อสารจากบนลงล่าง ซึ่งเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือผู้นำชุมชนจะใช้ในการชี้แจงและการสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น จากนั้นในระยะต่อมาจะเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นรูปแบบของการสื่อสารจากล่างขึ้นบน เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาในการต้อนรับนักท่องเที่ยว สมาชิกของชุมชนจะร่วมมือร่วมใจกันทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ รูปแบบการสื่อสารจะเป็นลักษณะตามแนวนอน และแบบสองทาง ทั้งนี้ในภาพรวมของการสื่อสารทุนชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ท่วงทำนองในการสื่อสารระหว่างกันเป็นไปด้วยความเอาใจใส่ ให้กำลังใจในการทำงาน แสดงให้เห็นถึงการสื่อสารในเชิงบวก ส่วนในด้านการสื่อสารทุนชุมชนไปยังนอกชุมชน ทั้ง 2 ชุมชนมีการสื่อสารแนวคิดหลักที่ชัดเจนเพื่อเสนอจุดขายของชุมชน โดยชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี บ้านสวายสอ อำเภอเมือง สื่อสารด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และชุมชนบ้านตาลอง อำเภอสตึก สื่อสารด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). ก้าวต่อไปของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จามรี พระสุนิล. (2563). การจัดการความรู้ทุนชุมชนเพื่อการส่งเสริมการจัดการที่ยั่งยืนของตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 37(1) (มกราคม – เมษายน), 60-79.

จิราพร ไชยเชนทร์. (2563). ชุมชนคลองร้อยสายกับทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(2) (เมษายน – มิถุนายน), 1-15.

ชนิษฐา ใจเปง. (2563). แนวทางการสงเสริมการทองเที่ยวโดยชุมชนเชิงสรางสรรคโดยใช้ทุนทางสังคม: กรณีศึกษาชุมชนนครชุม กําแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30, 1 (มกราคม–มิถุนายน), 26-38.

ทศพร แก้วขวัญไกร. (2562). เศรษฐกิจชุมชน: การสะสมทุนชุมชนเพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1) (มกราคม-มิถุนายน), 69-83.

พรรัตน์ ทองเลิศ และ ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2556). การสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา 6(2), 72-87.

รัตนา บุญเลิศ. (2562). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศุภมาส แหวนวิเศษ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารธรรมศาสตร์, 36(1) (มกราคม-เมษายน).

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2551). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นจาก http://cbt-i.org/travel.php เมื่อ 21 มกราคม 2564.

สถาปนิก นามวงษ์. (2558). การพัฒนาแผนการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านนาต้นจั่น อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.

สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์. (2559). หน่วยที่ 8 การสื่อสารชุมชนกับการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม. ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นการสื่อสารชุมชน (Introduction to community communication) หน่วยที่ 6-10 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Adler, P. S., & Kwon, S. W. (2002). Social capital: Prospects for a new concept. The Academy

of Management Review, 27(1), 17-40.

Arkadyevna, L. O. Positive communication: definition and constituent features [Online]. (2014). Вестник Волгоградского государственного университета. Серия, 2. Языкознание 5(24). Available from: DOI: http://dx.doi.org/10.15688/

jvolsu2.2014.5.16 [2019, April 1].

Agunga, R. A. (1998). Communication for development in Africa-a clarion call. Communicare: Journal for Communication Sciences in Southern Africa, 17(1), 28-48.

Gajewska, Anna Kloczko. (2013). General characteristics of thematic villages in Poland. Journal on Bioeconomy and Sustainable Development, 2, 2013 (December).

Jacobs, C. (2007). Measuring success in communities: Understanding the community capitals framework. Extension Extra Community Capitals Series 1-8. Retrieved from http:// www.agron.iastate.edu/Courses/agron515/Capitals Extension%20Extra.pdf

Jones, K. D. (2016). Empowering Early Childhood Teachers: A Community Based Participatory Research Approach. Electronic Theses, Projects, and Dissertations. 426. Available from: https://scholarworks.lib.csusb.edu/etd/426 [2019, April 1]

Kłoczko-Gajewska, A. (2013). General characteristics of thematic villages in Poland. Visegrad Journal on Bioeconomy and Sustainable Development, 2(2), 60-63.

Mendoza, M. M. R. (2017). How they do it: Community Based Tourism; Case study of the community participation of Kikil. Mexico: Yucatan.

Romrattanaphan, W. (2005). Social Cost.Bangkok: Project for Enhancing Learning for Community Happiness. (In Thai)

Szymanska, Joanna & Jedlička, Pavel. (2020). The Importance of High Nature Value Areas in the Development of the Rural Areas of Lower Silesia Conference: Hradec Economic Days 2020 [Online], pp.794-803. Available from: DOI: 10.36689/uhk/hed/2020-01-089 [2020, April 1].

The Reconsider Team. (2013). Community capital and alternative financing resource guide: Exploring the methods for aggregating and disseminating community capital to spur diversified economic development. Community Capital Resources: University of Michigan.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30