ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟีนอลิกรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ของสารสกัดข่า ขิง และผักเสี้ยนผี

ผู้แต่ง

  • อาวุธ หงษ์ศิริ
  • ศุภรัตน์ ดวนใหญ่

คำสำคัญ:

สารต้านอนุมูลอิสระ; สารประกอบฟีนอลิกรวม; สารประกอบฟลาโวนอยด์รวม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม ของสารสกัดข่า ขิง และผักเสี้ยนผี สกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ และเอทานอล จากนั้นนำสารสกัดมาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl radical scavenging capacity assay (DPPH Assay) หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu  และสารประกอบฟลาโวนอยด์ ด้วยวิธี Quercetin 

          ผลการวิจัยพบว่า สมุนไพรที่แสดงสมบัติการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือ สารสกัดขิง มีค่า IC50= 2.16 mg/ml ผลการทดสอบหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม พบว่าสารสกัดขิง มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม มากที่สุด (210.19±0.01 mg GAE/g extract) การทดสอบหาปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม พบว่าสารสกัดขิง มีปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม มากที่สุด (129.04±1.10 mg QE/g extract) ดังนั้นสารสกัดข่า ขิง และผักเสี้ยนผี มีศักยภาพในการนำมาศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อยอดต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2497). ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พานิชศุภผล.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, และวิเชียร จีรวงศ์. (2558). คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์:ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อมรินทร์พริ้น ติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

บุหรัน พันธุ์สวรรณ. (2556). อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 21(3) : 275–286

ประโยชน์ ใจเพ็ชร์. (2554). ผักเสี้ยนผี. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2564, จาก www.prueksaveda.com./คุณค่าผักพื้นบ้าน/ผักเสี้ยน.html.

วิยดา กวานเหียน และ กิ่งกาญจน์ บรรลือพืช. (2561). ความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาห้ารากที่สกัดด้วยน้ำ. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 17(ฉบับพิเศษ): 27-37

อเนก หาลี และบุณยกฤต รัตนพันธุ์. (2560). การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน 15 ชนิด. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.40(2) : 283-292

โอภา วัชระคุปต์. (2549). สารต้านอนุมูลอิสระในธรรมชาติ. พี.เอส.พริ้น์.กรุงเทพฯ

Chudiwal AK, Jain DP, Somani RS. (2010). Alpinia galanga Willd.– An overview on phyto-pharmacological properties. Indian J Nat Prod Resour, 1(2), 143-149.

Gupta. P.C.N. Sharma and C.V.Rao. (2011). Comparison of the antioxidant activity and total phenolic, Flavonoid content of aerial part of Cleome viscosa L. International Journal of Phytomedicine, 3(3), 386-391

Juckmeta T, Itharat A. (2012). Anti-inflammatory and antioxidant activities of Thai traditional remedy called “Ya-ha-rak”. J Health Res, 26(4), 205-210.

Singharachai C, Palanuvej C, Kiyohara H. Yamada H, Ruangrungsi N. (2011). Safety evaluation of Thai traditional medicine remedy: Ben-cha-lo-ka-wi-chian. J Health Res, 25(2), 83-90.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02