การพัฒนาแนวความคิดในการออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏยรังสรรค์
คำสำคัญ:
การออกแบบ; เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง; นาฏยรังสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการและแนวคิดในการออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏยรังสรรค์ ชุด “ป้อเนียน่อเป๊ะเจา” และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้เรียนด้านกระบวนการในการออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏยรังสรรค์ กรอบแนวคิดในการวิจัยคือ กระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงอย่างเป็นระบบ จะช่วยสื่อสารความคิดหลักของการแสดงชุดนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น โดยเลือกนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง ปีการศึกษา 2560 กลุ่ม “ป้อเนียน่อเป๊ะเจา” จำนวน 5 คน เป็นกรณีศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล ใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลัก โดยการศึกษาจากแหล่งข้อมูลประเภทเอกสารและงานเขียนต่าง ๆ ใช้แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม จดบันทึก และการทดลองปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงาน สุดท้ายใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่อประเมินและสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักศึกษาสามารถออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏยรังสรรค์ ชุด “ป้อเนียน่อเป๊ะเจา” ที่สะท้อนความคิดหลักในการแสดงได้จากสีสันที่สดใสเพื่อสื่อถึงบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริงในประเพณีปีใหม่ม้ง ผ่านโครงสร้าง วัสดุ ผ้าปักม้ง และเครื่องประดับที่ทำจากโลหะเงิน อันเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าม้ง จากแนวคิดในการออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงละครไทยและตะวันตกผสานกับกระบวนการพัฒนาผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังสามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ในเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏยรังสรรค์ในลักษณะเดียวกันต่อไป
Downloads
References
กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557). “การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายนาฏศิลป์นิพนธ์ (นาฏศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระหว่างปีการศึกษา 2546–2550.” วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(31) : 79-92.
แดนดินถิ่นไทยเหนือ. (30 กันยายน 2562). เสื้อผ้าชาวเขา. http://www.dandinth.com
พันธุ์ชนะ สุนทรพิพิธ. (2557). การพัฒนาแนวความคิดและกระบวนวิธีการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับการแสดง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. (1 ตุลาคม 2562). ประเพณีชาวเขาเผ่าม้ง บ้านเข็กน้อย. http://www.hmongkheknoi.pcru.ac.th
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (กันยายน 2562). การโค้ช: กลไกในการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
องค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย. (30 กันยายน 2562). ผลงานและกิจกรรม. http://www.kheknoi.go.th
Unna Thailand Souvenirs. (1 เมษายน 2563). เสน่ห์ผ้าปักม้ง ผ้าเขียนเทียน. https://www.unna46.com
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว