บทบาทผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • กัณญาณัฐ เสียงใหญ่

คำสำคัญ:

บทบาทผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง; ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อบทบาทผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยฯ และเพื่อศึกษาแนวทางการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยฯ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จำนวน 255 คน  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

        ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 คือบทบาทผู้นำด้านนวัตกรรมค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (xˉ=4.04) บทบาทผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (xˉ= 4.04) ลำดับสุดท้ายผู้นำ ด้านการเปลี่ยนแปลง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (xˉ=4.01) และแนวทางการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อยู่ในระดับมาก (xˉ= 3.99) ผลการวิเคราะห์แนวทาง การเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยฯ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง ด้านเทคโนโลยี และด้านคน เพื่อให้สอดคล้องแนวทางการพัฒนาการศึกษาในประเทศ เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศไทยแลนด์ 4.0

Downloads

Download data is not yet available.

References

โกวิทย์ กังสนันท์. (2550). การบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การ: มุมมองแนวบูรณาการ กระบวนการและพฤติกรรม. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จากhttp://kpi.ac.th/media/pdf/M7_115.pdf

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน: พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.dwr.go.th/contents/images/text_editor/files/3_thailand4_0.pdf

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0 ในบริบทของการพัฒนาทุนมนุษย์. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.youtube.com/watch?v=jWWWfl7W52k

Bass, B. M. (1998). Leadership and performance. New York: The Free Press.

Cummings, T. G., & Worley, C. G. (2009). Organization development & change. New York: South-Western Cengage Learning.

Cook, S., Macauley, S., & Coldicott, H. (2004). Change management excellence. Great Britain, England: Creative Print and Design.

Kotter, J. P. (2012). Leading change. Boston: Harvard Business School Press.

Popa, I. L., Preda, G., & Boldea, M. (2010). A theoretical approach of the concept of innovation. Managerial Challenges of the Contemporary Society, 1,.

Pollitte, C., & Bouckaert, G. (2011). Public management reform: A comparative analysis-new public management, governance, and the neo–Weberian State (3rd ed.). Oxford, England: Oxford University Press.

Sahni, A. (1987). Approaches to organizational change and development. Retrieved May 16, 207, from http://medind.nic.in/haa/t00/i1/haat00i1p128g.pdf

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02