การสร้างเสริมรสนิยมและองค์ความรู้ทางดนตรีสมัยนิยมในชุมชนย่านฝั่งธนบุรี
คำสำคัญ:
สร้างเสริมรสนิยม; ดนตรีสมัยนิยม; ชุมชนย่านฝั่งธนบุรีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นที่สร้างเสริมรสนิยมและองค์ความรู้ทางดนตรีสมัยนิยมในชุมชนย่านฝั่งธนบุรีตามเขตความรับผิดชอบด้านการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้วยวิธีการนำเสนอข้อมูลทางดนตรีบลูส์และเร็กเก้ที่ได้คัดสรรจากสารคดี 2 เรื่องได้แก่ ปีศาจที่ทางแพร่ง และ การรื้อคดีสะท้านวงการเพลง: ใครยิง Bob Marley ในรูปแบบคลิปวีดีโอบรรยายออนไลน์พร้อมแนบแบบสอบถามความพึงพอใจในการสร้างเสริมรสนิยมและองค์ความรู้ทางดนตรีสมัยนิยมเป็นเครื่องมือวิจัยในการหาผลลัพธ์ มีผู้เข้าร่วมสองกลุ่มประกอบด้วยกลุ่มวัยรุ่นที่บรรลุนิติภาวะอายุตั้งแต่ 18-24 ปีเป็นกลุ่มแรกจำนวน 330 คน และกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปีเป็นกลุ่มที่สองจำนวน 71 คน รวมทั้งหมด 401 คนอยู่ในเขตพื้นที่ โดยดำเนินไปตามสูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบค่าประชากรเพื่อกำหนดจำนวนที่เหมาะสม และหาค่าเฉลี่ยจากการประเมินความพึงพอใจ ผลวิจัยในภาพรวมพบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความพึงพอใจอยู่ที่ 4.82 จัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้นำไปสู่การวิเคราะห์การศึกษาดนตรีสมัยนิยมโดยอ้างอิงหลักสูตรที่คัดเลือกมาเพื่อพัฒนาจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกสถานศึกษาต่อไป
Downloads
References
ดุรณี แก้วม่วงและคณะผู้จัดทำ. (2546). สุนทรียภาพของชีวิต. สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ภาคภูมิ เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์. (2562). ดนตรีสมัยนิยม : แนวทางการพัฒนาเพื่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, (หน้า 83-94). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Abril, C. & Gault, B. (2008). The State of Music in Secondary Schools: The Principal’s Perspective. Journal of Research in Music Education. 56 (1), 72.
Alberta Education. (1994). High School Music Overview: General Music 10–20–30, Government of Alberta.
Anderson, R. (2004). "Reggae Music: A History and Selective Discography” Music Library Association. 61 (1), 206-214.
Bennett, A. (2001). Culture of Popular Music. Open University Press, Philadelphia
Bloom, B., (Ed.). 1956. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals: Handbook I, cognitive domain. New York: Longman.
Bolden, T. (2004). Afro-Blue: Improvisations in African American Poetry and Culture. University of Illinois Press.
Davidson, K. (Director). (2018). ReMastered: Who Shot the Sheriff? [Video file]. Retrieved from https://www.netflix.com/watch/80191047?trackId
Dearn, L., (2013). Young People and Popular Music Culture: The Impact of Popular Music Within the Everyday Lives of Children Aged 10 – 16. University of York
Faculty of Arts and Humanities. (2021). Music Bachelor of Arts: Undergraduate Course. University of Southampton. Retrieved from https://www.southampton.ac.uk/courses/music-degree-ba
Gordon, E. (2007). Learning Sequences in Music: A Contemporary Learning Theory Chicago: GIA Publications, Inc
Handy, W.C. (1941). Father of the Blues: An Autobiography. Arna Bontemps, ed. New York: Macmillan
Himes, G. (1979). "Return of Reggae". The Washington Post.
Oakes, B. (Director). (2019). ReMastered: Devil at the Crossroads [Video file]. Retrieved from https://www.netflix.com/watch/80191049?trackId
Pearley, L., Sr. (2018). The Historical Roots of Blues Music. AAIHS. Retrieved from https://www.aaihs.org/the-historical-roots-of-blues-music/
Ratliff, B. (1999). "It's About New Beginnings and Keeping the Faith". The New York Times
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว