สถาบันรัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กับการพัฒนาการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ผู้แต่ง

  • ชนะศึก วิเศษชัย

คำสำคัญ:

สถาบันรัฐสภา; สภาผู้แทนราษฎร; วุฒิสภา; ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์งานวิจัยชิ้นนี้เพื่อ  1) ศึกษาสภาพการเมืองไทยภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2560  2) ศึกษาปัญหาของรัฐสภาภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2560 และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ประกอบด้วย อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานวุฒิสภา นักการเมือง และ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเมืองของไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2560 พบว่าพรรคการเมืองอ่อนแอและรัฐบาลประสบปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพอันเกิดจากกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญและการชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาล 2) ปัญหาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2560 จำแนกเป็นปัญหาเกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย ปัญหาที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถสะท้อนเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ได้อย่างแท้จริงและปัญหาสภาผู้แทนราษฎรถูกจำกัดอำนาจทางนิติบัญญัติ ปัญหาเกี่ยวกับวุฒิสภา ได้แก่ ปัญหาขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนและปัญหาลักษณะการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาไม่สามารถรับประกันความเป็นอิสระได้ 3) แนวทางการพัฒนาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยประกอบด้วย ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความสอดคล้องกับหลักเสียงข้างมากปกครองตามเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนโดยมีอำนาจทางนิติบัญญัติอย่างสมบูรณ์ ในส่วนของวุฒิสภา ที่มาของวุฒิสมาชิกมีความเชื่อมโยงกับประชาชนส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งดำรงไว้ซึ่งความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งผสมกับสมาชิกจากการสรรหาเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลภายในองค์กร อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภามีความสอดคล้องกับระดับความเชื่อมโยงมีต่อประชาชน คือมีอำนาจในการกลั่นกรอง รับรองบุคคลเพื่อทำหน้าที่ในองค์กรอิสระแต่ไม่มีอำนาจในการริเริ่มกฎหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2559). กกต. ประกาศผลการออกเสียงประชามติอย่างเป็นทางการ. สืบค้นจาก https://www.ect.go.th/ect_th/ewt_news.php?nid=958&filename=index

ธราวุฒิ สิริผดุงชัย. (2554). ระบบสภาเดี่ยว : ทางเลือกของระบบรัฐสภาไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2556). “ระบบการเมืองการปกครอง”. ในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักพื้นฐานทางรัฐศาสตร์. (หน่วยที่ 12) (พิมพ์ครั้งที่12). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. น 1-90.

พรรณรัตน์ ดิษฐ์เจริญ (2560). “ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบผสมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิสุทธิ์ชัย จิตพิมลมาศ.(2550). ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ของวุฒิสภาไทย. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วัชรพล โรจนวรวัฒน์. (2560). รูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่เหมาะสมกับอำนาจหน้าที่วุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สถาพร สระมาลีย์. (2563). “กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภา”. Law and Local Society Journal. Vol. 4 (2) (July – December 2020) น.35-60.

สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์. (2539). ทัศนคติทางการเมืองของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เสนีย์ คำสุข. (2557). กระบวนการทางการเมืองและสถาบันทางการเมือง. ใน แนวการศึกษาชุดวิชาสัมมนาการเมืองและการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Brown, Bernard. (1966). Government and Politics. New York: Randon House Press.

Huntington, Samuel. (1969). Political Order in Changing Societies. 2nd Edition. Connecticut: Yale University Press.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02