การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ผู้แต่ง

  • พิชชาภรณ์ ยามะเพวัน

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม; การรับรู้; การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อวัดความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรากฐานที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้เกิดแก่ธุรกิจนั้น ๆ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ประกอบไปด้วยพนักงานและลูกจ้าง (ชั่วคราว) จำนวน 351 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะคำถามแบบปลายปิดและคำถามแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป SPSS

ผลการวิจัยพบว่า 1) เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงานที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แตกต่างกัน และ ตำแหน่งงาน การเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่แตกต่างกัน 2) เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน ตำแหน่งงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แตกต่างกัน 3) การรับรู้ของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในภาพรวม มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง

Downloads

Download data is not yet available.

References

ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา, และวีนัส อัศวสิทธิถาวร. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วังอักษร.

ณัฐกานต์ ตั้งวนาไพร, ดร.พินันทา โรจน์รัตน์ศิริกุล, และรศ.ปภัสสร ผลเพิ่ม. (2555). การศึกษาระดับการรับรู้ของพนักงานต่อกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ การซ่อมบำรุงอากาศยานฝ่ายช่าง อู่ตะเภา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2), 61-67

ปิยาภรณ์ ละอองจันทร์. (2556). ทัศนคติ การรับรู้ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

พรชัย กิจวิมลตระกูล, พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์, กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์, ธีรัตม์ พิริยะพลิน, กฤษณา โพธิสารัตนะ, นพดล เดชประเสิรฐ, และพัชรา โพธิไพฑูรย์. (2555). การมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์ธุรกิจ (CSR) ของพนักงานบริษัทปิโตรเคมีในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 7(2), 27-35

พรทิพย์ ชิ้นแสงชัย. (2556). การรับรู้และการมีส่วนร่วมด้านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานโรงไฟฟ้าราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พลอยฉัตรี ศิริพัฒน์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบุคลากรกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคม (CSR) ขององค์การคลังสินค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

เพ็ญประภา วงศ์ทอง และศศิพรรณ บิลมาโนชญ์. (2559). การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม (CSR) ของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน). วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 15(18), 107-120

มณีวรรณ ฉัตรอุทัย. (2555). การศึกษาระดับการรับรู้เรื่องแรงจูงใจและระบบค่านิยมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการทำงาน. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 9(1), 1-18

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 173-186

วรรณิสา คงกะทรัพย์. (2555). การรับรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ศศิเพ็ญ เพ็ชร์ขาว และอาจารย์ ดร.ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2558). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของพนักงานระดับปฏิบัติการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 494–505

ศศิเพ็ญ เพ็ชร์ขาว. (2558). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน ในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศศิวิมล เหลืองอิงคะสุต. (2559). ความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการต่อการดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ปี 2559. ไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2551). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ ไอคอนพรินติ้ง

สมบูรณ์ ใจประการ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดําเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าในจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อัครนันท์ ชัยธัมมะปกรณ์. (2556). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.). วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(1), 152-161

Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action. Ohio: SouthWestern.

Carroll, A. B. (2008). The Oxford handbook of corporate social responsibility. A history of corporate social responsibility: Concepts and practices. New York: Oxford University Press

Kotler, P. & Lee, N. (2005). Corporate social responsibility: Doing the most good for your company and Your cause. New Jersey: Wiley

Robbins, Stephen P. 2001. Organizational Behavior. (9th ed). New Jersey: Prentice Hall.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. (5th ed.). Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02