การพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อมรา ผดุงทรัพย์
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
  • กนก พานทอง

คำสำคัญ:

มาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก; นิสิตระดับปริญญาตรี; ความตรงเชิงโครงสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ด้าน และ 2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน ผลการวิจัยปรากฎว่า มาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวก มีค่าดัชนีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .29 - .77 มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .93 โดยมีองค์ประกอบทั้งหมด 8 ด้าน ซึ่งมีข้อคำถามด้านละ 5 ข้อ ได้แก่ (1) การเปลี่ยนความคิดด้านลบ (2) สิ่งสำคัญของด้านบวก (3) การยับยั้งความคิดในแง่ร้าย (4) การฝึกคิดเชิงบวก (5) การหยุดยั้งปัญหา (6) การเริ่มต้นความเชื่อในแง่ดี (7) การท้าทายกับความคิดในแง่ร้าย และ (8) การสร้างความรู้สึกด้านบวก ซึ่งมีค่าความเที่ยงแต่ละด้านเท่ากับ .71 .80 .76 .82 .78 .81 .71 และ .76 ตามลำดับ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า c2 = 936.95, df = 640, c2 / df = 1.46, RMSEA = .03, SRMR = .05, GFI = .91 และ CFI = .97 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปว่ามาตรวัดที่พัฒนาขึ้นเป็นนวัตกรรมและสามารถวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤตย์ ไชยวงศ์ และมานี แสงหิรัญ. (2559). โมเดลโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11, 43-58.

กษมน รุ่งโรจน์รังสรรค์. (2561). การพัฒนามาตรวัดความมีน้ำใจนักกีฬาของนักกีฬาสถาบันการพลศึกษา. วารสารวิชาการ สถาบันการพละศึกษา, 10(3), 317-332.

กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2562). จำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. เข้าถึงได้จาก https://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs346537670=1

ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ, ไพรัช จุ่นเกตุ, นิษฐ์สินี กู้ประเสริฐ, และวิษณุ แพทย์คดี. (2562). ผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมความคิดเชิงบวก ในนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(1), 157-164.

ณีน์นรา ดีสม และ สุวรี ศิวะแพทย (2554). ผลของโปรแกรมความคิดเชิงบวกที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 39-45.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, วิมลรัตน์ วันเพ็ญ, ศศกร วิชัย, พัชรินทร์ อรุณเรือง, จันทร์ชนก โยธินชัชวาล, ธนโชติ เทียมแสง, หนึ่งฤทัย ยี่สุ่นศรี, ธัชกร ป้ายงูเหลือม และนภาพรรณ ล่าเต๊ะ. (2556). การสำรวจสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและการติดเกมในนักเรียน โรงเรียนน่าร่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ธนดล พรพุทธพงศ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับภาวะโลกร้อน ในประเทศไทยตามสมมติฐานเส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของ Kuznets. วารสารร่มพฤกษ์, 31(2), 99-116.

นิศากร เจริญดี, สุรีพร อนุศาสนนันท์, อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ และไพรัตน์ วงศ์นาม. (2562). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 32(112), 124-131.

บุญญรัตน์ กองอรรถ, พงศ์เทพ จิระโร และณัฐกฤษตา งามมีฤทธิ์. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดจันทบุรี. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 33(177), 73-79.

ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, กนก พานทอง และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2563). การพัฒนามาตรวัดความเจริญงอกงามแบบออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารเกษมบัณฑิต, 21(2), 138-159.

พิทักษ์ สุพรรโณภาพ, อรอุมา เจริญสุข, องอาจ นัยพัฒน์ และสังวรณ์ งัดกระโทก. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 605-619.

รัชดา อรหันตา และกาญจนา ไชยพันธุ์ (2556). ผลของโปรแกรมความคิดเชิงบวกที่มีต่อความเข้มแข็งทางจิตใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(3), 128-136.

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2), 1-14.

ศิรินยา จีระเจริญพงศ์. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดเชิงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(3), 537-555.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2561). ประกาศคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เรื่อง กำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ.

American Association of Suicidality (2015). U.S.A. suicide: 2014 final data. Retrieved from http://www.suicidology.org/Portals/14/docs/Resources/FactSheets/2014/2014datapgsv1b.pdf.

Bekhet, A. K., & Zauszniewski, J. A. (2013). Measuring use of positive thinking skills: psychometric testing of a new scale. Western Journal of Nursing Research, 35(8), 1074-1093.

Matel-Anderson, D. M., & Bekhet, A. K. (2019). Psychometric properties of the positive thinking skills scale among college students. Archives of psychiatric nursing, 33(1), 65-69.

Pallant, J. (2013). SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using the SPSS Program (5th ed.). Maidenhead, Berkshire, England: McGraw-Hill.

Polit, D. F., & Beck, C.T. (2007). Focus on research methods is the cvi an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Research in Nursing & Health. 30(4), 459-467.

Schumacker, E., & Lomax, G. (2016). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. 4th edtn. In: New York, NY: Routledge.

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02