“ศักดิ์ศรี” กับการสื่อสารจากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์: กรณีศึกษานักศึกษาและนักเรียนชายไทย

ผู้แต่ง

  • ชาญวิทย์ เยาวฤทธา -

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมย่อมมีผลต่อพฤติกรรมการใช้ภาษาและพฤติกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยแนวคิดเรื่อง “ศักดิ์ศรี” เป็นหนึ่งในหลายแนวคิดที่คนในสังคมไทยให้ความสำคัญ ทั้งนี้ หากการปฏิสัมพันธ์กระทบกระเทือนต่อศักดิ์ศรีของบุคคล ย่อมนำไปสู่ปัญหาระหว่างกันได้ ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “ศักดิ์ศรี” ตามมุมมองของนักศึกษาและนักเรียนชายที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน และวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ภาษาและพฤติกรรมอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับปัจจัย “ศักดิ์ศรี” สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งประยุกต์จาก สเปนเซอร์ โอตทีย์ (Spencer-Oatey, 2002)

            ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของคำว่า “ศักดิ์ศรี” ตามมุมองของนักศึกษาและนักเรียนชายที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันมีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างจากความหมายตามมุมมองของนักสังคมวิทยา สำหรับพฤติกรรมการใช้ภาษา พบว่า นักศึกษาและนักเรียนชายที่มีปัญหาความขัดแย้งใช้วัจนกรรมที่ส่งผลต่อปัจจัย “ศักดิ์ศรี” ทั้งหมด 6 วัจนกรรม ได้แก่ วัจนกรรมการท้าทาย วัจนกรรมการดูถูก วัจนกรรมการบริภาษ วัจนกรรมการสั่ง วัจนกรรมการไล่ และวัจนกรรมการปฏิเสธ ขณะที่พฤติกรรมอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัย “ศักดิ์ศรี” สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมที่ใช้รักษาศักดิ์ศรีที่มีอยู่ พฤติกรรมที่ทำให้ได้หรือเพิ่มศักดิ์ศรี และพฤติกรรมที่ทำให้เสียหรือลดศักดิ์ศรี

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล.. (2556). เทคนิคการวิจัยทางภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2559). สารไร้ถ้อยคำในเรื่องสั้นไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 35(1), 1-21.

ธีรยุทธ บุญมี. (2537). “ศักดิ์ศรี-หน้าตา.” ใน สุวรรณา สถาอานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร, บรรณาธิการ. คำ: ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย, 265-278.

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์). (2556). หลักการสัมภาษณ์ในวงการบริหาร การสื่อสารมวลชนและการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล

เฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ศึกศักดิ์ศรี! ช่างกล ‘ปทุมวัน’ ยกพวกตี ‘อุเทน’ บนบีทีเอสกลางเมือง ชาวบ้านหนีตาย. (2561). สืบค้น 5 ธันวาคม 2562, จาก

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1454544

สวนิต ยมาภัย. (2526). การสื่อสารของมนุษย์: แนวคิดและแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐาน. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hanks, W. F., Ide, S., & Katagiri, Y. (2009). Introduction:Towards an emancipatory pragmatics. Journal of Pragmatics, 41(1), 1-9.

Hofstede, G. (2011). Dimensionalizing Cultures: The Hofstede Model in Context. Online Readings in Psychology and Culture, 2(1).

https://doi.org/10.9707/2307-0919.1014

Persons, L.S. (2008). THE ANATOMY OF THAI FACE. MANUSYA: Journal of Humanities, 11(1), 53-75.

Searle, J.R. (1969). Speech acts: An Essay in the philosophy of language. Great Britain: Cambridge University Press.

Searle, J.R. (1976). A Classification of Illocutionary acts. Language in Society, 5 (1), 1-23.

Spencer-Oatey, H. (2002). Managing rapport in talk: Using rapport sensitive incidents to explore the motivational concerns underlying the

management of relations. Journal of Pragmatics, 34, 529-545.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29