การรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้ดนตรีอาเซียนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
สังเคราะห์, องค์ความรู้, ดนตรีอาเซียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวม และสังเคราะห์องค์ความรู้ดนตรีอาเซียนในประเทศไทย จากหนังสือ วิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความวารสารของนักวิชาการชาวไทย ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้ดนตรีอาเซียนมีจำนวนทั้งหมด 109 รายการ จำแนกตามประเภทเอกสาร ได้เป็น หนังสือ 18 รายการ วิจัย 11 รายการ วิทยานิพนธ์ 36 รายการ และบทความวารสาร 44 รายการ จำแนกตามประเทศ พบว่า กลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะประเทศที่มีอาณาเขตติดกับประเทศไทย 3 อันดับแรกที่พบงานศึกษามากที่สุด ได้แก่
ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ และกลุ่มประเทศที่มีการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีจำนวนไม่มากคือกลุ่มประเทศที่อยู่
ทางตอนใต้หรือกลุ่มประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ ดังนี้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 39 รายการ ราชอาณาจักรกัมพูชา 16 รายการ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 15 รายการ สหพันธรัฐมาเลเซีย 8 รายการ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 7 รายการ ประเทศสิงคโปร์ 5 รายการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 3 รายการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 1 รายการ เนอการาบรูไนดารุซซาลาม 1 รายการ และดนตรีอาเซียนในภาพรวม 14 รายการ และผลการสังเคราะห์เนื้อหา พบว่า มีการศึกษาองค์ประกอบทางดนตรี ดนตรีศึกษา การบริหารจัดการสถาบันดนตรี ดนตรีชาติพันธุ์ นักดนตรี วงดนตรี ดนตรีกับการเมือง ดนตรีพิธีกรรม ดนตรีประกอบการแสดง และประวัติศาสตร์ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของดนตรี นอกจากนี้พบว่ามีประเด็นที่ยังไม่ได้นำมาใช้ในการศึกษา เช่น ดนตรีกระแสนิยม อุตสาหกรรมการผลิตดนตรี ดนตรีของกลุ่มประชาสังคมในมิติด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษาดนตรีจากแนวคิดเชิงวิพากษ์ โดยข้อค้นพบจากการสังเคราะห์สามารถนำไปสู่การส่งเสริมการวิจัยในประเด็นที่ขาดแคลน และสนับสนุนให้เกิดการศึกษาและเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป
Downloads
References
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บรรณาธิการ). (2553). เครื่องดนตรีกัมพูชาโบราณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สัญญา เคณาภูมิ. (2562). หลักการและแนวทางการสังเคราะห์งานวิชาการ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 3(2), 89 - 106.
อมลวรรณ วีระธรรมโม. (2557). การศึกษาเพื่อการเตรียมเยาวชนสู่อาเซียน วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 14(2), 24 - 31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว