การพัฒนาอาหารจำลองเพื่อสื่อสารอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้านของชุมชนบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อารียา จุ้ยจำลอง BSRU

คำสำคัญ:

อาหารจำลอง อัตลักษณ์ การสื่อสารอาหาร อาหารพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้านของชุมชนบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อออกแบบอาหารพื้นบ้านจำลองของชุมชนบางกระดี่ กรุงเทพมหานคร  โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกด้านอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้าน 2) วิจัยพัฒนาต้นแบบอาหารพื้นบ้านจำลอง  พบว่า  1) อัตลักษณ์อาหารพื้นบ้านของชุมชนบางกระดี่ จากการสืบค้นอัตลักษณ์อาหารพื้นบ้าน พบว่า  อาหารคาวและอาหารหวานพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์ ดังนี้ อาหารคาว ได้แก่  แกงกระเจี๊ยบ แกงเลียงผักปลัง  แกงฟักทอง  น้ำพริกป่า ยำชะคราม และอาหารหวาน ได้แก่ เม็ดขนุน ขนมดอกโสน ขนมเล็บมือนาง ข้าวต้มมัด ขนมเหนียว 2) การออกแบบอาหารพื้นบ้านจำลองต้นแบบ  แบ่งออกเป็น  3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เตรียมการผลิต (Pre- Production)  1) คัดเลือกอาหารต้นแบบ 2)  ศึกษาลักษณะวัตถุดิบ เครื่องปรุงและอาหารที่ปรุงสำเร็จ ขั้นที่ 2 การผลิต (Production ) สร้างอาหารพื้นบ้านจำลองต้นแบบ  และขั้นที่ 3 หลังการผลิต (Post-Production)  1)  ประเมินอาหารพื้นบ้านจำลองโดยปราชญ์ชุมชน จำนวน 15 คน พบว่า ระดับความพึงพอใจ โดยรวมมีระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 และ   2) ประเมินความพึงพอใจอาหารพื้นบ้านจำลองของผู้เข้าเรียนรู้ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญบางกระดี่ จำนวน 30 คน พบว่า ระดับความพึงพอใจ โดยรวมมีระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาไทย

กาญจนา แก้วเทพ และขนิษฐา นิลผึ้ง. (2556). สื่อสาร อาหาร สขภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. ปฏิวัติบริโภคจากสิ่งของฟุ่มเฟือยมาสู่สิ่งจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:สยามปริทัศน์. 2558.

เนตรดาว เถาถวิล. (2560) กินดีอยู่ที่มีสุข, มิติทางสังคมและวัฒนธรรมของสุขภาพ รวบรวมบทความจากการประชุมวิชาการทางมนุษยวิทยาครั้งที่ 12.

วงศกร คําเพิ่ม. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการร้านอาหารเวียดนามของประชาชน. อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2553). การสื่อสารเพื่อสร้าง ธำรงรักษาและต่อรองอัตลักษณ์ความเป็นมอญของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

References

Anne-Mette Hjalager and Greg Richards. (2002). A typology of gastronomy tourism. In, Tourism and Gastronomy. London: Routledge. Curriculum, and Activities Organization for Teaching. Bangkok: Ministry of Education.

Department of Academic Affairs. (1997). Research Findings on Local Wisdom and Development, [in Thai]

Ditwirut, N. (2005). Cultural Communication: Exchange of Meaning Under the Basis of Equality. Journal of Sukhothai Thammathirat, 18(1), 51-59. [in Thai]

Multicultural Studies and Social Innovation Center. (2019). Secret Yet Not Mysterious: The Ends of the Ax-Like Land of Thailand. Bangkok: Institute of Asian Studies Chulalongkorn University. [in Thai]

Wasi, P., Pinprateep, P., Tiwapan, S., Noppakesorn, T., Nopparak, S., & Jirattikanchote, W. (1997). Song Quare Dialogue on Local Wisdom and Sustainable Development. Phitsanulok: Educational Club for Development. [in Thai]

Wilce, J. M. (2017). Culture and Communication: An Introduction. Cambridge: Cambridge University Press.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30