ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4C’s) ภาพลักษณ์ตราสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครใช้บริการดิสนีย์พลัส

ผู้แต่ง

  • บพิธ อภิวันทนกุล -
  • ณัฏฐณิชา ณ นคร

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ภาพลักษณ์ตราสินค้าพฤติกรรมผู้บริโภค, การตัดสินใจ, ดิสนีย์พลัส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์กับการตัดสินใจสมัครใช้บริการดิสนีย์พลัส เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4C’s) ปัจจัยทางด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครใช้บริการดิสนีย์พลัส  มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทำการวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใช้บริการดิสนีย์พลัสในประเทศไทย สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน   F-Test (ANOVA) และสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4C’s) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านความต้องการของผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านคุณประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยการตัดสินใจสมัครใช้บริการดิสนีย์พลัส โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจสมัครใช้บริการดิสนีย์พลัสที่แตกต่างกัน ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4C’s) ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 3 ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า และผลการทดสอบสมมติฐานที่ 4 ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่าส่งผลต่อการตัดสินใจสมัครใช้บริการดิสนีย์พลัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

References

จตุพร สุขศรี. (2560). ความคาดหวังในตัวสินค้าภาพลักษณ์ตราสินค้าและความภักดีในตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อนาฬิกาอัจฉริยะในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2563). การปรับตัวของภาพยนตร์นานาชาติในยุคโรคระบาดโควิด-19. การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณรงค์ ทมเจริญ (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้รับชม Streaming Netflix ภายในเขตจังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปริญ ลักษิตานนท์. (2536). กลยุทธ์การตลาดและการประยุกต์ใช้จริงในทางธุรกิจในแต่ละกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

พีระพงศ์ วีระวุฒิ. (2552). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจแอพพลิเคชั่น Netflix ของผู้ใช้งาน Netflix ในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรชนก พลาบูลย์. (2560). การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการใช้เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความตั้งใจของประชาชนในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PROMPTPAY) ของรัฐบาลไทย. การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศักดิพัฒน์ วงศ์ไกรศรี. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4’Cs ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4’Fs ปัจจัยการโฆษณาทางสังคมออนไลน์ และปัจจัยกิจกรรมการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุจิตรา ใจเอื้อ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Cs) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการใน Application Foodpanda ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Schultz, D. E., Tannenbaum, S. I., & Lauterborn, R. F. (1994). The new marketing paradigm: Integrated marketing communications. Lincolnwood: NTC Business Books.

Kotler, P. (1987). Marketing: An introduction. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19