กลวิธีการสร้างสรรค์เนื้อหาลักษณาการปฏิพากย์พจน์ในบทเพลงฉ่อย

ผู้แต่ง

  • นาวาอากาศโท ดร.สมบัติ สมศรีพลอย -

คำสำคัญ:

การประทุษวาจา; เพลงฉ่อย; การสร้างสรรค์เนื้อหา

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสร้างสรรค์เนื้อหาของการประทุษวาจาในเพลงฉ่อย โดยใช้กลุ่มข้อมูล 3 เรื่อง ได้แก่ เพลงฉ่อยโบราณ คณะยายต่วน เพลงฉ่อยเหนือจังหวัดนครสวรรค์ คณะพ่อโกมินทร์ แม่ทองใบ และเพลงฉ่อยใต้จังหวัดสุพรรณบุรี คณะแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ลักษณะของเพลงฉ่อยทั้ง 3 มีลักษณะที่แตกต่างกันในท่วงทำนอง กล่าวคือ ฉ่อยโบราณจะมีลักษณะสั้น กระชับ ส่วนฉ่อยเหนือกับฉ่อยใต้ มีความยาวของเนื้อเพลงแต่ละวรรคใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันในเรื่องสำเนียงการร้อง ส่วนลักษณะที่ปรากฏร่วมกัน คือ การสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อการประทุษวาจาสำหรับการปฏิพากย์โต้ตอบกัน โดยเนื้อหาการประทุษวาจาที่ปรากฏมี 5 กลวิธี ดังนี้ 1) การประชดประชัน 2) การเสียดสี 3) การบริภาษ 4) การดูถูกและ 5) การเยาะเย้ยตนเอง การสร้างสรรค์กลวิธีด้านเนื้อหาดังกล่าว  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเจ็บใจ ความอับอาย ตลอดจนความขุ่นข้องหมองใจให้ฝ่ายตรงข้าม และสร้างสรรค์อารมณ์ขันให้แก่ผู้ชม นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณของพ่อเพลงและแม่เพลงที่มีวัจนลีลาแตกต่างตามปัจเจกบุคคลในฐานะวัจนสงครามของการแสดงเพลงพื้นบ้านที่ต้องปฏิพากย์โต้ตอบกันด้วยอาวุธวาจาเพื่อเอาชนะกัน โดยมีศักดิ์ศรีทางเพศเป็นเครื่องเดิมพัน

Downloads

Download data is not yet available.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30