การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนการจัดระบบการทำงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น

ผู้แต่ง

  • ทศทัศน์ บุญตา -

คำสำคัญ:

การสอนการจัดระบบการทำงาน; พฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนการจัดระบบ     การทำงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น                   2) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนการจัดระบบการทำงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย          ปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมข้อมูลสำหรับการวางแผน 2) ขั้นวางแผน      3) ขั้นการสอนการจัดระบบการทำงาน 4 ระยะ ดังนี้ ระยะการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการสอน ระยะการสอนการจัดระบบการทำงาน ระยะการฝึกปฏิบัติการจัดระบบการทำงาน และระยะการติดตามผลและปรับปรุง    การจัดระบบการทำงาน 4) ขั้นสังเกต และ 5) ขั้นสะท้อนผล กรณีศึกษาเป็นนักเรียนชายที่มีภาวะสมาธิสั้น กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 คน ซึ่งมีพฤติกรรมปัญหาคือ การทำงานไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนการจัดระบบการทำงาน จำนวน 5 แผน และ 2) แบบตรวจสอบการส่งงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนการจัดระบบการทำงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 3.80, S.D. = 0.25) 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นระหว่างก่อนและหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนการจัดระบบ          การทำงาน พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.72

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2563). “การประเมินและการวิจัย.” โรคสมาธิสั้น = Attention Deficit Hyperactivity Disorder. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิริราช.

พันทิวา งามพจนวงศ์, ดารณี อุทัยรัตนกิจ และธัชทฤต เทียมธรรม. (2561). “ผลการให้ความช่วยเหลือด้านการจัดระบบการบ้านต่อความสำเร็จในการทำการบ้านของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม).” วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 7(2): 22-34.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2563). นวัตกรรมการจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน. อ่างทอง : โรงพิมพ์วรศิลป์.

Gallagher R., H. B. Abikoff, and E. G. Spira. (2014). The Organizational Skill Training for Children with ADHD: An Empirically Supported Treatment. New York: Guilford.

Kiley C. (2564, มกราคม 6). Tips for Teaching Kids Time Management, Planning, and Organization (AKA-Executive Function Skills) [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก www.mamaot.com/ tips-for-teaching-kids-time-management-planning-and-organization/

Langberg J. M., M. R. Dvorsky, S. J. Molitor, E. Bourchtein, L. D. Eddy, Z. R. Smith, L. E. Oddo, and H. M. Eadeh. (2018). “Overcoming the Research-to-Practice Gap: A Randomized Trial with Two Brief Homework and Organization Interventions for Students with ADHD as Implemented by School Mental Health Providers.” Journal of Consulting and Clinical Psychology 86 (1): 39-55.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30