การนำเสนอภาพแทนความเป็นไทยในรายการเสน่ห์ห้องเครื่อง
คำสำคัญ:
ภาพแทน, ความเป็นไทย, รายการอาหารบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งค้นหาการนำเสนอภาพแทนความเป็นไทยในรายการเสน่ห์ห้องเครื่อง ผู้วิจัยประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวคิดการนำเสนอภาพแทน ผ่านวิธีการนำเสนอของรายการเสน่ห์ห้องเครื่อง ได้แก่ การดำเนินรายการ ฉาก ตัวละคร และสาระโดยสังเขปของรายการเสน่ห์ห้องเครื่อง โดยคัดเลือกกลุ่มข้อมูลแบบเจาะจง คือ เลือกรายการเสน่ห์ห้องเครื่องที่เผยแพร่ตั้งแต่ตอนแรกจนถึงตอนล่าสุดรวมจำนวน 23 ตอน พบผลการศึกษา ดังนี้
รายการเสน่ห์ห้องเครื่องเป็นรายการอาหารที่มีการดำเนินรายการ 3 ช่วง คือ ช่วงนำเสนอสถานการณ์ของตอน ช่วงสาธิตวิธีการทำอาหาร และช่วงสรุปย้ำสิ่งที่รายการนำเสนอ โดยมีตัวละครหลัก คือ ย่ากอล์ฟและหลานเต และตัวละครประกอบ เช่น นมย้อยและแขกรับเชิญ เป็นผู้สาธิตการทำอาหารไทยเมนูต่าง ๆ พร้อมสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ความเป็นไทย 9 ด้าน ได้แก่ ด้านอาหาร ด้านสถาบันศาสนา ด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านศิลปกรรม ด้านสมุนไพร ด้านการละเล่นพื้นบ้าน ด้านประเพณี และด้านลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และค่านิยมแบบไทย ผ่านฉากที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยแบบไทย เช่น บ้านเรือนไทย ศาลาท่าน้ำ พื้นที่ครัวไทย เป็นต้น และนำเสนอภาพแทนความเป็นไทย 4 ลักษณะ ได้แก่ ความเป็นไทยมีความหลากหลาย ความเป็นไทยมีความเป็นมาที่ยาวนาน ความเป็นไทยมีความเป็นระดับชั้นทางสังคม และความเป็นไทยมีความพิถีพิถัน การนำเสนอภาพแทนดังกล่าวแฝงความหมายและมีผลในทางคุณค่าเกี่ยวโยงกับความรู้สึกนึกคิดของคนไทย โดยรายการได้นำองค์ประกอบบางส่วนของทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคมมาสร้างความเป็นไทย ผ่านแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีชีวิต หรือวิทยาศาสตร์ จนทำให้สิ่งเหล่านั้นกลายเป็น “ภาพแทนความเป็นไทย” ที่มีคุณค่าและควรอนุรักษ์
Downloads
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). สตรีนิยมและวัฒนธรรมศึกษา ใน อยู่ชายขอบ มองลอดความรู้. กรุงเทพมหานคร : ศิลปวัฒนธรรม
กาญจนา แก้วเทพ.(2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศาลาแดง.
ณัฐกานต์ รสหวาน. (2561). การนำเสนอภาพตัวแทนก็อตซิลล่าในภาพยนตร์ฮอลลีวูด กรณีศึกษา. Godzilla 2014. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2550). อคติ / ภาพแทนสมาชิกในซิทคอม. กรุงเทพมหานคร : โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาพของสังคม.
นัดดา ธนทาน. (2556). การวิเคราะห์ศึกษาภาพเขียนมนุษย์ของ ทวีศักดิ์ ศรีทองดี ระหว่าง ปี พ.ศ.2540-2554. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/id/0d33d9f5-17c8-459d-8ae1-54128bf5e8d0/fulltext.pdf?attempt=2
นันทินี สันติธรรม. (2560). การนำเสนอภาพของศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านละครโทรทัศน์. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหามงคลกานต์ ิตธมฺโม คงสฤษฎ์ แพงทรัพย์ และพูนศักดิ์ กมล. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 6(2) 46-59 สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php
/JMA/article/download/184052/153805/
พีระ จิรโสภณ. (2551). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 10. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร. (2558). ศิลปวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : PNK การพิมพ์.
มาริญา ทรงปัญญา. (2563). การวิเคราะห์ภาพแทนจากรูปแบบตัวอักษรป้ายร้านค้าเมืองหลวงพระบาง ในกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย. 1(1), 13-37. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564 จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jaad/article/view/242048/164244.
ฤทธิณัณฑ์ เชื้อทอง และรุจิระ โรจนประภายนต์. (2559). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร. 21(29) 110-143 สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NJLC/article/view/94424
ละอองดาว จิตต์พิริยะการ. (2562). หญิงม่าย : ภาพแทนนางเอกชายขอบในนวนิยายไทยร่วมสมัย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วันชนะ ทองคำเภา. (2554). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรุดา นิติวรการ. (2557). อาหารไทย: มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 5(1) 171-179 สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/ article/view/42173
ศุภวัฒน์ นามคำ และและซิสิกกา วรรณจันทร์. (2564). ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาหารชาววัง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15(2) 182-194 สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/download/241951/168297/
เสนาะ เจริญพร. (2546). ภาพเสนอผู้หญิงในวรรณกรรมไทยช่วงทศวรรษ 2530: วิเคราะห์ความโยงใยกับประเด็นทางสังคม. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอกรัฐ เลาหทัยวาณิชย์. (2552). ภาพแทนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชน: กรณีศึกษาบ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว