การเตรียมความพร้อมการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนคร ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • บดินทร์ธร บัวรอด -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: เทศบาลนคร; การเตรียมความพร้อม; การจัดเก็บภาษี; ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขในการเตรียมความพร้อมการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการกองคลัง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนารายได้ หัวหน้าฝ่ายกองคลัง หัวหน้าฝ่ายพัฒนารายได้ หัวหน้าฝ่ายแผนที่และทะเบียนทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการฝ่ายกองคลัง และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานฝ่ายพัฒนารายได้ รวมถึงนักวิชาการด้านการคลัง จำนวนทั้งสิ้น 15 คน ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ในรูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ Nvivo10 เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเชิงสาเหตุและผลกับวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า การเตรียมความพร้อมการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเทศบาลนครในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบไปด้วย เทศบาลนครเกาะสมุยและเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มีรูปแบบการเตรียมความพร้อม 4 ลักษณะ 1) การเตรียมความพร้อมในการกำหนดแผนการจัดเก็บรายได้จะใช้แนวทางจากหน่วยงานราชการส่วนกลางมากำหนดเป็นแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีข้อสังเกตที่สำคัญในประเด็นที่เทศบาลนครทั้งสองแห่งไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มการเตรียมการด้วยตัวเองเป็นเพียงหน่วยงานที่รอรับคำสั่งจากส่วนกลางเพื่อการปฏิบัติงานเท่านั้น 2) มีการกำหนดนโยบายในการส่งบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบกับการจัดเก็บภาษีเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาถ่ายทอดให้กับบุคลากรภายในเทศบาลนครและประชาชนผู้เสียภาษี แต่ยังคงพบจุดอ่อนสำคัญ คือ ผู้บริหารเทศบาลนครทั้งสองแห่งทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในเชิงนโยบายเท่านั้นแต่ไม่ได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแต่อย่างใด 3) ความร่วมมือของเทศบาลนครทั้งสองแห่งจะมีการดำเนินการแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ คือ ความร่วมมือภายในเครือข่ายเทศบาล มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นจากการเก็บภาษี สำหรับความร่วมมือภายนอกระหว่างหน่วยงานภาครัฐ มีการประสานงานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ดินให้เป็นปัจจุบัน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเพื่อแจ้งให้กับประชาชนสามารถดำเนินการตรวจสอบยอดการชำระภาษี รวมถึงฐานข้อมูลแผนที่และทะเบียนทรัพย์สิน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จรินทร์ เทศวานิช และคณะ. (2553). โครงการประเมินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รูปแบบ

ใหม่และผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 23(1), หน้า 47-59.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2549). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โมธิมา เรียบสันเทียะ และ ศดานนท์ วัตตธรรม. (2562). แนวทางการสร้างนวัตกรรมการจัดเก็บรายได้

ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. เอกสารการประชุมวิชาการราชภัฏรัฐศาสตร์และ

รัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2551). การคลังท้องถิ่น รวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

มายามีน หวันฮัซซัน และคณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนราธิวาส.เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. จังหวัดสงขลา.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 เล่ม 27 ตอนที่ 47 ก.

กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

วีรศักดิ์ เครือเทพ. (2564). ปัจจัยที่กำหนดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์,

(1). กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกราช บุญเริง. (2557). ความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการเมืองการปกครอง, 5(1), หน้า 126 – 129.

ศดานนท์ วัตตธรรม. (2563). ความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry, (75), Sage.

Robbins, Geraldine and Mulligan, Emer and Keenan, Fiona. (2015, November).

E‐Government in the Irish Revenue: The Revenue On‐Line Service (ROS):

A Success Story?. Financial Accountability & Management, 31(4), pp. 363-394.

Hilton Miyahira. (2008). Using Information Technology to Improve Tax and Revenue

Collection. Washington DC.: The George Washington University.

Saito, F. (2011). The SAGE handbook of governance. London: SAGE Publications.

Schwandt, T. A., Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (2007). Judging interpretations: But is it

rigorous? trustworthiness and authenticity in naturalistic evaluation.

New Directions for Evaluation, (114), 11- 25. doi: 10.1002/ev.223

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30