การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม กรณีศึกษาชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธีร์วรา บวชชัยภูมิ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์
  • วชิรศักดิ์ เขียนวงศ์

คำสำคัญ:

ผ้ามัดย้อม, หมอนอิง, หมอนรองคอ, โคมไฟประดับตั้งโต๊ะ, กล่องอเนกประสงค์, กระเป๋า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบัน ภูมิปัญญาและความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมของชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณและเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้พักอาศัยในคอนโดมีเนียมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ เพศหญิงและเพศชาย อายุ 30 – 45 ปี จำนวน 400 คน  งานวิจัยเชิงนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย มีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม คือ 1. หมอนอิง  2. หมอนรองคอ 3. โคมไฟประดับตั้งโต๊ะ 4. กล่องอเนกประสงค์และ 5. กระเป๋าสตางค์ ระดับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () = 3.99, 4.07, 4.12, 4.03 และ 3.99 ตามลำดับ ซึ่งจากงานวิจัยจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพเพิ่มมูลค่า มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชุมชน ซึ่งจะสามารถก่อให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งโดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่และเป็นการต่อยอดภูมิปัญญา และการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งทางชุมชนจะได้รับองค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยา ใจกลัด. (25 กุมภาพันธ์ 2563). สัมภาษณ์โดย ธีร์วรา บวชชัยภูมิ. กรุงเทพมหานคร คนึง จันทร์ศิร. (2544). การมัดย้อมผ้า. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธีรยุทธ พึ่งเทียร. (2543). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. พิมพ

ยุพินศรี สายทอง. (2544). การออกแบบลวดลายผ้าปาเต๊ะและมัดย้อม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ดี.ดี.บุคสโตร์ วัลภา ทองเนียมและคณะ (2555). การพัฒนาลวดลายและรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม. คณะเกษตร ภาควิชา

ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพสูตรไพศาล คหกรรมศาสตร์, สํานักหอสมุด, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30