การประยุกต์ใช้แนวคิด Thematic Villages เพื่อการสื่อสารการตลาด ของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านเชียง

ผู้แต่ง

  • เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ -
  • ธาตรี ใต้ฟ้าพูล

คำสำคัญ:

แนวคิดของชุมชน; การท่องเที่ยวโดยชุมชน; การสื่อสารการตลาด; บ้านเชียง

บทคัดย่อ

         บทความวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิด Thematic Villages เพื่อการสื่อสารการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านเชียง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยแนวคิด Thematic Villages เป็นวิธีการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่ได้รับความนิยมในประเทศแถบยุโรป มีกระบวนการทำงานที่เน้นให้ชุมชนร่วมกันสร้างสรรค์แนวคิดหลักที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ผ่านสินค้า ราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผู้ประกอบการในชุมชน ทำให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้ทางเลือกและเกิดผู้ประกอบการในชุมชนขึ้น ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นอีกหนึ่งชุมชนท่องเที่ยวที่ประสบผลสำเร็จได้รับรางวัลทางการท่องเที่ยว ผ่านการนำเสนอแนวคิดหลักทางการท่องเที่ยว คือ “ตามรอยดินดำ อารยธรรมบ้านเชียง”

          ผลจากการวิจัย พบว่า ชุมชนบ้านเชียงมีกระบวนการทำงานในการจัดการการท่องเที่ยวด้านการกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่มุ่งนำทุนชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์มาต่อยอดในการทำการตลาดให้มีความแตกต่างกับชุมชนท่องเที่ยวอื่น และมีการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดหลายรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและนักวิชาการอย่างต่อเนื่อง สามารถถ่ายทอดแนวคิดเฉพาะของชุมชนได้อย่างชัดเจน การนำแนวคิดการท่องเที่ยวแบบ Thematic Villages มาถอดรหัสกระบวนการทำงานของชุมชนบ้านเชียงจะสามารถทำให้เห็นถึงองค์ประกอบแห่งความสำเร็จของชุมชนแห่งนี้ได้

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธรรมจักร เล็กบรรจง. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism โดยการมีส่วนร่วม

ของชุมชนเกาะสุกร จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 12, 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์).

Lakbanchong, T. (2019). Slow Tourism Management with Community Participation in

Koh Sukorn, Trang Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University,

Humanities, Social Sciences and Arts. 12, 1 (January-February).

นรีนุช ดำรงชัย. (2555). มิจิโนะเอคิ: สถานีริมถนนความสำเร็จจากญี่ปุ่นสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 52, 1(มกราคม - มีนาคม), 209-234.

Damrongchai, N. (2012). Michinoeki (Roadside Station): A Success Story from Japan to Thailand’s Community Development. NIDA Development Journal. 52, 1(January - March), 209-234.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย

นานาชาติ. 13(2), 25-46.

Nattapach Maneeroj. (2017). Community Based Tourism Management. Journal of

International and Thai Tourism. 13(2), 25-46.

พรพิมล ขำเพชร, และรุ่งรวี จิตภักดี. (2562). นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการจัดการท่องเที่ยวโดย

ชุมชน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 14, 1(มกราคม - เมษายน).

Khamphet, P & Jitphakdee, R. (2019). Creative Innovations in Community Based Tourism Management. Journal of Business, Economics and Communications: BEC

Journal. 14, 1(January - April).

พรรณภัทร ใจเอื้อ. (2562). การพัฒนาตนเองของผู้นำสภาองค์กรชุมชน กรณีศึกษา : ผู้นำสภาองค์กร ชุมชนในพื้นที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ นครสวรรค์. 7, 3(กันยายน - ธันวาคม), 11-24.

Jai-uea, P. (2019). Self-Development of Community Organization Council Leaders. Case Study : Organization Council Leaders. Community in Chum Saeng District Nakhon Sawan Province. Journal of Graduate Review Nakhon Sawan Buddhist College. 7, 3(September-December), 11-24.

พัฒนาการท่องเที่ยว, สำนักงาน. (2550). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คู่มือเครือข่ายการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร : ศรีเมืองการพิมพ์.

Tourism Development, Office. (2007). Ministry of Tourism and Sports. Network guide Community based tourism. Bangkok : Sri Muang Printing.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง. (2553). นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Ban Chiang National Museum. (2010). Take a tour of the Ban Chiang National Museum. Bangkok : Amarin Printing and Publishing.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง. (2550). มรดกวัฒนธรรมบ้านเชียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย

Ban Chiang National Museum. (2007). Ban Chiang Cultural Heritage. 2nd edition. Bangkok : Dokbia Printing House.

รัตนา บุญเลิศ. (2562). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง อำเภอเชียง

แสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ โรงแรมและ

การท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา.

Boonlert, R. (2019). Guidelines for the development of tourism by the Ban Tha

Khanthong community, Chiang Saen district, Chiang Rai province. Master's

Thesis Management hotel and tourism University of Phayao.

ชุมพร สุทธิบุญ. สัมภาษณ์, 27 มิถุนายน 2563.

Suthibun, P. Interview, June 27, 2020.

Kłoczko-Gajewska, A. (2013). General characteristics of thematic villages in Poland. Visegrad Journal on Bioeconomy and Sustainable Development. 2(2), 60-63.

Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational leadership. Hove, East Sussex :

Psychology press.

Gangewere, R. J. (1999). Theme City: Imagining Pittsburgh. Inside Carnegie, September/October. Dostępny w Internecie: http://www. carnegiemuseums. org/cmag/bk_issue/1999/sepoct/feat6. html.

Ngabiyanto, M., Susanti, M. H., & Setiajid, M. (2019, May). Empowering and Developing The Local Potency Through Thematic Village in Semarang. In International Conference on Rural Studies in Asia (ICoRSIA 2018). Atlantis Press.

Sala, K. (2020). Entrepreneurship in Tourism in Rural Problem Areas. Case Stage of

the West Pomeranian Voivodeship: Hradec Economic Days 2020 [Online].

Available from: http://hdl.handle.net/20.500.12603/278 [2020, April 1].

Szymanska, Joanna & Jedlička, Pavel. (2020). The Importance of High Nature Value Areas in the Development of the Rural Areas of Lower Silesia Conference: Hradec Economic Days 2020 [Online], pp.794-803. Available from: DOI: 10.36689/uhk/hed/2020-01-089 [2020, April 1].

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30