รูปแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ชาวต่างชาติในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์กร, อาจารย์ชาวต่างชาติ, การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปพัฒนารูปแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ชาวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ชาวต่างชาติในโครงการการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษจากโรงเรียนของรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 187 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับแนวโน้มด้าน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการสื่อสารต่างวัฒนธรรมและแนวโน้มด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 30,001-40,000 บาท
- แนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ชาวต่างชาติ อยู่ในระดับ เห็นด้วย ทุกด้าน โดยด้านลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดในภาพรวม คือ 4.52 แนวโน้มด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมน้อยที่สุด คือ 97 เมื่อพิจารณาความสำคัญของแนวโน้มแต่ละด้าน พบว่า ความสำคัญลำดับที่ 1 คือ แนวโน้มด้านความสัมพันธ์ ความสำคัญลำดับสุดท้าย คือ แนวโน้มด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ
- รูปแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์ชาวต่างชาติในประเทศไทยประกอบไปด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการรูปแบบ วัตถุประสงค์รูปแบบ แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ คำนิยามรูปแบบ และแผนภาพรูปแบบ
คำสำคัญ : ความผูกพันต่อองค์กร ; อาจารย์ชาวต่างชาติ ; การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
Downloads
References
กฤษฎิ์ กาญจนกิตติ. (2552). ปัญหาและความพึงพอใจของอาจารย์ชาวต่างชาติ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการของหน่วยวิเทศสัมพันธ์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณาภรณ์ รัศมีมารีย์. (2554). การพัฒนาระบบบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรัญญา พงษ์สุทธิรักษ์. (2552). สภาพและปัญหาการจัดการการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
จิตต์โสภณ นิลลิกา. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีของบุคลากรโรงเรียนเอกชนสายสามัญ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ฌัชฌา จรบุรมณ์. (2549). ทัศนคติของผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการสอนสนทนาภาษาอังกฤษโดยครูชาวต่างชาติ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ฐนิดา น้อยสกุล. (2549) การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2552). งานวิจัยติดตามและประเมินผลโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
นิพัทธา รสจันทน์. (2543). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่เปิดสอนโครงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประภัสสร ดิษสกุล. (2555). สภาพการบริหารบุคลากรครูชาวต่างชาติของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณา ปัญญาดี. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกโรงเรียนสองภาษาของผู้ปกครองนักเรียนระดับประถม ศึกษาในจังหวัดเชียงราย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อมรา คุ้มจันอัด. (2551). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาโครงการโรงเรียนสองภาษาของโรงเรียนเบญจมบพิตร สำนักงานเขตดุสิต สังกัดกรุงเทพมหานคร. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Harter, J. K., Blacksmith, N. (2012). Employee Engagement and the Psychology of Joining, Staying in, and Leaving Organizations. Oxford Handbook of Positive Psychology and Work. Retrieved from http://www.oxfordhandbooks.com/view/10 .1093/oxfordhb/9780195335 446.001.0001/oxfordhb-9780195335446-e-10
Krejcie, R.W. and Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York: John Wiley.
Punthumasen. P. (2007). International program for teacher education: an approach to tackling problems of English education in Thailand. The 11th UNESCO-APEID International Conference Reinventing Higher Education: Toward Participatory and Sustainable Development. 12th-14th December 2007. Bangkok Thailand. Retrieved from http://back office.onec.go.th/uploaded/Category/EngBook/ProblemEngEd13dec07-03-03-2011.pdf
Shirol, S. (2014). Motivational factors and teachers’ attitude with respect to Herzberg motivation-hygiene theory. Techno LEARN, 4 (1), 1-5. Retrieved from https://ndpublisher.in/admin/ issues/TLV4N1a.pdf.
Syptak, J. M., Marsland, D. W. & Ulmer, D. (1999). Job Satisfaction: Putting Theory into Practice. Family Practice Management. 6 (1), 26-30. Retrieved from https://www.aafp.org/pubs/fpm /issues/1999/1000/p26.html#:~:text=Frederick%20Herzberg%20theorized%20that%20employee,more%20productive%2C%20creative%20and%20committed.
Vskills. (2020). Join, Stay, Leave Model. Retrieved from https://www.vskills.in/certification/tuto rial/join-stay-leave-model/
Wikipedia contributors. (2018, March 21). Employee retention. In Wikipedia, The Free Encyclopedia. Retrieved 06:25, May 2, 2018, from https://en.wikipedia.org/w/index.php? title=Employee_retention&oldid=831672756
Willer, D. (1967). Scientific Sociology Theory and Method. New Jersey: Prentice-Hall. Retrieved from http://www.northernstudy.org/Sufficiency_Economy_.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว