ผลของการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายก าหนดตามมาตรา 654แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • พัฒน์วิภา กังวานโสภณ -

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, ดนตรีและภาษา, การบูรณาการเรียนรู้

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลทางกฎหมายของข้อตกลงการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นข้อตกลงที่เป็นความผิดและมีโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2560 อันมีลักษณะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันมีผลให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่ข้อตกลงในส่วนเงินต้นยังคงสมบูรณ์อยู่ตามมาตรา 173 ดังนี้ จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ในตอนท้ายที่ว่า “ถ้าในสัญญาก าหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”ย่อมไม่มีผลบังคับในทางกฎหมายในปัจจุบันอีกต่อไป ซึ่งหากบุคคลทั่วไปหรือแม้กระทั่งนักศึกษาวิชากฎหมายที่เพียงแต่อ่านข้อความในมาตรา 654 ที่ว่า “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญาก าหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี” ย่อมเกิดความเข้าใจผิดได้ว่าข้อตกลงการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรามีผลเป็นการลดดอกเบี้ยลงมาเหลือเพียงอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะดอกเบี้ยเกินอัตราทั้งหมดต้องตกเป็นโมฆะตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ประกอบกับมาตรา 150ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 โดยบัญญัติว่า “ถ้าในสัญญาก าหนดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายก าหนดไว้ ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ” ซึ่งเป็นข้อความในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพบังคับทางกฎหมายให้มีความชัดเจนเป็นไปตามเจตนารมณ์ในการใช้บังคับกฎหมาย เพื่อให้ง่ายต่อการท าความเข้าใจแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ต้องพิจารณาบทบัญญัติของกฎหมายใดๆ อีก

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชยามนต์ จารึกุนทรสกุล. (2564). ดอกเบี้ยเงินกู้ ถึงเวลาที่ต้องแก้. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีที่ 50 ฉบับที่ 3, 418-449).

ปัญญา ถนอมรอด. (2558). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

ไผทชิต เอกจริยกร. (2559). คำอธิบายยืม ฝากทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

พรชนก ขาวรอด. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เยาวนารถ เพาะผล. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้บริการเงินกู้นอกระบบ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รวิวรรณ สาลีผล. (2555). ประวัติของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปี 2475. กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ.

วิชัย สุวรรณประเสริฐ. (2563). คู่มือพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไท.

วิวัฒน์ ว่องวัฒน์ไวทยะ. (2562). สรุปย่อหลักกฎหมายกู้ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

สุธีร์ ศุภนิตย์. (2554). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วิชาเอกเทศสัญญา 2 ยืมและฝากทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุณิชญา ธีรโรจน์วิทย์. (2563). “ปัญหาการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา”. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์ ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, (85-99). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29