โลกาเทศาภิวัตน์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • นันทกา สุธรรมประเสริฐ อิสระ
  • เหมือนฝัน คงสมแสวง

คำสำคัญ:

โลกาเทศาภิวัตน์, การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น, รสนิยม

บทคัดย่อ

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้กำหนดประเด็นการพัฒนา การเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าโดยส่งเสริมการนำอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการพัฒนาและเชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจึงต้องมีคุณลักษณะที่สะท้อนความเป็นโลกาเทศาภิวัตน์ เพื่อส่งผลให้เกิดการกระจายสินค้าสู่สาธารณะได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นโลกาเทศาภิวัตน์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นกรณีศึกษา ร่วมกับการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ

จากการศึกษาพบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมีคุณลักษณะของความเป็นโลกาเทศาภิวัตน์ใน 3 องค์ประกอบ คือ 1) การประนีประนอมระหว่างความเป็นโลกและความเป็นท้องถิ่น 2) การปรับความเป็นโลกให้เข้ากับบริบทท้องถิ่น และ 3) การเชื่อมโยงความเป็นนานาชาติและท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกันผ่านการใช้ภาษาอังกฤษ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นยังถูกใช้เป็นของฝากจากการท่องเที่ยว ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะแบบโลกาเทศาภิวัตน์ จึงมีส่วนในการสร้างมูลค่าในการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์เนื่องจากของฝากเป็นสัญญะสื่อความหมายถึงความมีรสนิยมระหว่างผู้ให้และผู้รับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ปิยณัฐ สร้อยคำ. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การท่องเที่ยวเชิงโลกาเทศาภิวัตน์ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขงคงคา. วารสารเอเชียปริทัศน์, 42 (2), 38-62.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2552). ชุมชนปฏิบัติการด้านการเรียนรู้ แนวคิด เทคนิค และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิกานต์ โฆษิตตระกูล. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษบนฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: มุมมองจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 37 (2), 204-227.

ศศินิภา ดุสิตานนท์. (2554). พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเท่ยวจีน (วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมสุข หินวิมาน. (2554). ทฤษฎีการสื่อสารกับโลกาภิวัตน์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร (หน่วยที่ 11 น. 225-292). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2558). เรื่องเล่าพื้นบ้านกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP) ในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ใน ศิราพร ณ ถลาง (บรรณาธิการ). เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

Kellner, D. (2006). Jean Baudrillard after modernity: provocations on a provocateur and challenger. Retrieved 30.12.13, from The International Journal of Baudrillard Studies. http://www.ubishops.ca/baudrillardstudies/vol3_1/kellnerpf.htm.

L. Lin and P. C. Mao. (2015). Food for memories and culture - A content analysis study of food specialties and souvenirs. Journal of Hospitality and Tourism Management, 22, p.19-29

Khondker, H.H. (2005). Globalisation to Glocalisation: A Conceptual Exploration. Intellectual Discourse, 13 (2), p.181-199.

Paraskevaidis, P., Andriotis, K. (2015). Values of souvenirs as commodities. Tourism Management. 48, p.1-10.

Robertson, R. (1995). Glocalization as Hybridization. In Mike Featherstone et. al., (eds.). Global Modernities. London: Sage.

Sosianika, A., Suhaeni, T., Wibisono, N., Suhartanto, D. (2018). The Dimension of Food Souvenir: An Exploratory-Confirmatory Factor Analysis. MATEC Web of Conferences. 218 (04002). Retrieved from https://doi.org/10.1051/matecconf/201821804002

Swanson, K. K. and Timothy, D. J. (2012). Souvenirs: Icons of meaning, commercialization, and commoditization. Tourism Management. 33, p.489-499.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30